ประกอบและทดสอบ Hexbeam

การสร้างสายอากาศ Hexbeam เริ่มมาตั้งแต่ สิงหาคม 2023 เพราะชอบในรูปแบบ มีประสิทธิภาพที่ดีในขนาดกระทัดรัด เหมาะสมกับพื้นที่  บางช่วงเวลาของปี 2024 ได้หยุดทำ และไปทุ่มเทความสนใจกับ การฝึกรหัสมอร์ส เพื่อสอบขั้นกลาง ช่วงเวลาที่หยุดไปนั้น ทำให้เราได้คิดและปรับปรุงรูปแบบ ประกอบกับได้เห็นแนวทางใหม่ๆ ในการดำเนินการต่อ



มาถึงจุดที่เราจะประกอบ และดำเนินการปรับแต่ง สายอากาศ Hexbeam ของเราแล้ว เราจะใช้ข้อมูลการสร้าง Hexbeam ของ SV1PMH เป็นแนวทาง เนื่องจากรูปแบบการสร้าง และวัสดุที่ใช้ ใกล้เคียงกัน 

ความยาว Spreader Arms / จุดยึดสายอากาศบน Spreader Arms / ความยาวเชือกดึง Spreader Arms / วัดจาก ขอบ Center pole

ตำแหน่ง feed point บน Center pole วัดจาก base plate พอจำลองแล้ว ถ้าเปลี่ยนค่า จาก 50.8 เป็น 55 (ดูจากงาน DIY ของท่านอื่นๆ ใช้ค่านี้) หรือ 60 และ 96.5 เป็น 98 จะออกมาดูดีตามรูปด้านล่าง 


feed point แบบมาตรฐาน DIY ก็จะใช้ Coaxial cable เชื่อมระหว่างจุด


กลุ่ม Hexbeam Antenna ใน facebook  ใช้ Coaxial cable เชื่อมระหว่างจุด แต่ซ่อนใว้ใน Center pole อลูมิเนียม 



แบบของ OZ1CX  ใช้ สาย RG-8 เป็นตัวเชื่อม แล้ว trap แกนกลาง และ ชิลด์ ไปยัง สายอากาศ   แต่ต้องหารุ่น ชิลด์ เป็นทองแดง จะได้บัดกรีง่ายๆ



ในกลุ่ม groups.io/hexbeam มีการนำเสนอ Rigid Feedline เป็นแนวทางน่าสนใจ ใช้อลูมิเนียมฉาก วางห่างกัน 3 mm มีฉนวนกั้น

MM0OPX ได้ลองทำ แบบ Rigid เหมือนกัน แต่ใช้อลูมิเนียมแบน รายละเอียดบางส่วน 



square feeding line (central post) HB9MCZ / FY8PE




มาดูเรื่องการทำชุดสายอากาศ สายอากาศ แต่ละแบนด์ ประกอบด้วย     1st driver + space + reflector + space + 2st driver   

การทำชุดสายอากาศของ KG4JJH ใช้หางปลากลม เป็นตัวเชื่อม  ถ้าใช้สายแข็ง เราทำ loop เล็กๆ ที่ปลายสาย แทนหางปลา ก็ได้


แบบง่ายๆ ของ OZ1CX  


เพื่อให้ใช้กำลังส่ง ได้สูงขึ้น High Power Insulators ใช้ฉนวนเป็นตัวเชื่อมของ space


G3TXQ ทดลองใช้แบบนี้  The ends of the wire elements were fixed to the end-spacing cords using electrical connector blocks.


วิธีของ MM0OPX


ติดจุดยึดสายอากาศ บน Spreader Arms 


จุดป้อนสัญญาณ เป็นอลูมิเนียมฉาก 1/2"x1" หนา 1 mm ยาว 80 cm จะทำแบบ Rigid Feedline   

หลังจากดัดอลูมิเนียมแล้ว ได้ผลออกมาแบบนี้ 


ถัดไป ตีเส้นให้กับ center pole เพื่อเตรียมยึด จุดป้อนสัญญาณ อลูมิเนียมฉาก   หาอะไรแข็งๆ มารอง ปากกา จะดีกว่า  




วางขอบอลูมิเนียมตามแนวที่เราตีเส้นไว้ จากนั้นเจาะรู ท่อ PVC ทยอยทำพร้อมๆ กับร้อยน๊อต


วิธีร้อยน๊อตท่อ PVC ใช้ลวดแข็งดัดตามรูป หนีบน๊อตไว้ แล้วค่อยๆ หาตำแหน่งที่จะร้อยน๊อต




นำอีกอันมาทาบ จากรูป ต้องดัดให้อลูมิเนียม งอ ลงอีกนิดหน่อย


หาไม้บันทัดหนา 3 mm วางขั่นระหว่าง สองแผ่น ยึด แล้วเจาะรู


ความผิดผลาดย่อมเกิด เมื่อขันน๊อต ตามรูป ระยะห่างระหว่างอลูมิเนียมมากเกินไป

ตัดสินใจทำต่อโดยเอาน๊อตที่รองออก ให้อลูมิเนียมแนบกับ PVC / Center pole พร้อมแล้ว มีจุดเชื่อมสัญญาณ 20m 17m 15m 12m 10m และเตรียมไว้สำหรับ 40m 30m ด้วย 




จุดเชื่อมสัญญาณ 20m 17m 15m 12m 10m 


จุดเชื่อมสัญญาณ 40m 30m


บริเวณจุดต่อ ขัดสีที่เคลือบออก



มาลองสร้าง end-spacing cords  ในระหว่างที่ปรับแต่งสายอากาศ จะต้องทำเป็นห่วง เพื่อความสะดวก ทำจากเชือกที่เรามีอยู่แล้ว  ต้องทำการทดลอง เพราะขนาดเชือกไม่เท่ากัน / หรือจะใช้วัสดุอย่างอื่นชั่วคราวก็ได้ หลังจากปรับแต่งสายอากาศเรียบร้อยแล้ว ก็มัดให้แน่น ไม่ต้องทำเป็นห่วง


ลองทำ spacing ที่มีระยะห่าง 30.5 cm โดยเชือก 2 ทบ

30.5 + 7 + 2.5 + 7 + 2.5 + 30.5 + 7 + 2.5 + 7 + 2.5 = 99 cm

30.5 cm เป็นระยะห่างที่ต้องการ
7 cm พับเชือกเพื่อให้เป็นห่วง และเผื่อไว้ตอนมัดเชือก
2.5cm ตอนที่มัดเชือก ความยาวจะหายไป 2.5cm จึงต้องเผื่อไว้



ผูกเชือกแบบง่ายๆ


spreader arms ที่ความยาว 350 cm จาก center pole ใช้เทปพันละลาย หรือ ยางในมอเตอร์ไซด์ รอง เข็มขัดรัดท่อ


ดัดลวดสแตนเลส ขนาด 1mm สำหรับมัดกับเชือก โยงระหว่างตำแหน่ง 350cm บน spreader arms ไปยัง center pole