ถ้าเราต้องการออกอากาศหลายย่านความถี่ (MultiBand) ทางเลือกที่ง่ายสุด คงเป็นสายอากาศชนิด EFHW (End Fed Halfwave) ความยาวสายไฟ 20 เมตร สามารถใช้ความถี่ 7 MHz (40m) , 14 MHz (20m) , 21 MHz (15m) , 28 MHz (10m) ถ้าเป็นสายอากาศแบบ Dipole จะต้องทำเป็นแบบ FanDipole ต้องการใช้งานความถี่ไหน ก็เพิ่มสายเข้าไป อยากได้แบบ Dipole ไปใช้นอกสถานี ใช้สายเส้นเดียวได้ใหม Linked Dipole ต่อสายเป็นทอดๆ DL2MAN Linked Dipole ไม่ค่อยสะดวก ต้องคอยมาปลดสาย หรือต่อสาย เมื่อเปลี่ยนย่านความถี่ จึงมีการพัฒนาเป็น Trap Dipole ให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น An Attic Coaxial-Cable Trap Dipole for 10, 15, 20, 30, 40, and 80 Meters
Trap ทำงานอย่างไร Trap เป็นวงจร LC ต่อแบบขนาน ออกแบบไว้ ณ.ความถี่หนึ่ง เช่น 28 MHz (10m) ถ้าความถี่อยู่ที่ประมาณนี้ วงจร LC จะมี อิมพีแดนซ์ สูง เปรียบเสมือน วงจรเปิด หรือไม่เชื่อมต่อกัน ถ้าความถี่ต่ำกว่านี้ เช่น 21 MHz (15m) วงจร LC จะมี อิมพีแดนซ์ ต่ำ เปรียบเสมือน วงจรปิด หรือ เชื่อมต่อกัน สายอากาศ ก็จะทำงานที่ 21 MHz (15m) ได้ How antenna traps work
การวัดค่า ความถี่ รีโซแนนท์ ของ Trap ในบทความของ IZ7BOJ แนะนำการวัดด้วย NANO VNA
youtube Trapped Antenna Design & Build / 4NEC2 Trapped Antenna Simulation and Design / Tuning Antenna Traps
สายอากาศแบบ Trap ที่ใช้สายไฟ เราจะมองเห็นเป็น L หรือ C ได้แบบไม่ซับซ้อน แต่พอเป็นสายอากาศที่เป็นท่ออลูมิเนียม พวก rotary dipole หรือ yagi ต้องทำความเข้าใจโครงสร้างนิดหน่อย
BRUCE SMITH/AC4G ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่อง TRIBANDER ANTENNAS & TRAPS ให้เราเข้าใจ ได้แบบง่ายๆ สำเนาเก็บ / พอได้อ่าน FRITZEL TRAPS, BALUNS AND ELEMENTS ร่วมด้วย กระจ่างเลย สำเนาเก็บ