ในย่าน VHF เรายังมีโอกาส QSO กับ นักวิทยุสมัครเล่น ในพื้นที่ โดยเสารอบตัว หรือใช้ Yagi ก็ติดต่อได้ไกลออกไปในจังหวัดใกล้เคียง เนื่องจากจำนวน นักวิทยุสมัครเล่น ที่ใช้งานย่าน VHF มีจำนวนมาก แต่พอเป็นย่าน HF จำนวนนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง และสูง ในไทย มีจำนวนไม่มากนัก โอกาสที่จะติดต่อกันได้ในไทย จึงค่อนข้างจำกัด
เป้าหมายของการ ติดต่อสื่อสารของเรา จากไทย จึงมุ่งเป้าไปที่ อเมริกาเหนือ ยุโรป และญี่ปุ่น ที่มีจำนวนนักวิทยุสมัครเล่นใช้งานย่าน HF จำนวนมาก สายอากาศที่เหมาะสม จึงเป็นประเภททิศทาง แต่ก็ตามมาด้วยโครงสร้างสายอากาศขนาดใหญ่ สถานที่ติดตั้ง และ Tower ซึ่งมาค่าใช้จ่ายตามมา
ARRL บอกว่า " หากคุณมีเงินสดจำนวนมากจนแทบหมดกระเป๋า ก็อย่าลังเลใจที่จะลงทุนซื้อเสาอากาศและเสาส่งสัญญาณแบบลำแสง เพราะคุณจะได้รับผลตอบแทนมากมายมหาศาล และคุณจะไม่มีวันเสียใจกับการลงทุนครั้งนี้ ด้วยความสามารถในการรวมสัญญาณของลำแสงและข้อได้เปรียบด้านความสูงของเสาส่งสัญญาณ คุณจะมีโลกทั้งใบอยู่ในมือคุณ แม้แต่เสาอากาศแบบลำแสงที่ติดตั้งบนขาตั้งบนหลังคาก็สามารถทำให้สัญญาณของคุณกลายเป็นคลื่นความถี่วิทยุขนาดยักษ์ได้"
ลองจินตนาการ ว่าเราไปอาศัยอยู่ในใจกลางยุโรป ไม่ต้องกังวลใจเลยว่าจะรับสัญญาณอะไรไม่ได้ รูปด้านล่างเป็นการรับสัญญาณ ที่เยอรม้น
EFHW (End Fed Halfwave) เป็นสายอากาศที่สร้างได้ง่าย หาสายไฟความยาว Halfwave ของความถี่ต่ำสุดที่จะใช้ เช่น ย่าน 80 เมตร ก็หาสายไฟความยาว 40 เมตร กับ บาลัน 1:49 ปรับแต่งดีๆ ก็สามารถ ใช้งานความถี่ 3.5 MHz (80m) , 7 MHz (40m) , 14 MHz (20m) , 21 MHz (15m) , 28 MHz (10m) สายไฟความยาว 40 เมตร หาสถานที่ติดตั้งยาก ถ้าลดความยาวสายไฟเหลือ 20 เมตร ความถี่พวกนี้ ก็ยังใช้ได้ 7 MHz (40m) , 14 MHz (20m) , 21 MHz (15m) , 28 MHz (10m) ถ้าพื้นที่ติดตั้งไม่พอ ขอความยาวสายไฟสั้นกว่านี้ได้ไหม ได้ แต่ต้องใช้ คอยล์ มาช่วย link
Long Wire Antenna เป็นประเภท Endfed เหมือนกัน ความยาวสายไฟ ก็ใกล้เคียงกัน แต่ใช้ บาลัน 1:9
รูปด้านบนมาจาก Long wire antenna for portable operations by VK6YSF แนวตั้งคือความยาวของสายไฟที่มาทำเป็นสายอากาศ หน่วยเป็น เมตร แนวนอนคือความถี่ สมมุติ ใช้สายยาว 20 เมตร ความถี่ที่ลงตัวคือ 7 MHz , 14 MHz , 21 MHz , 28 MHz ก็คือดูจุด สีน้ำเงิน ในแนว 20 เมตร ถ้าจุดอยู่ตรงไหน ก็ดูว่าเป็นความถี่เท่าไร ดู ๆ ไปแล้ว ก็คล้าย End Fed Halfwave อ่านเพิ่ม The end fed long wire project by SM7UZYยังอยู่ที่สายอากาศที่เป็นสายไฟ แต่เปลี่ยนการป้อนสัญญาณ ที่ตรงกลางกันบ้าง เรียกสายอากาศนี้ ว่า Dipole ความยาวสายอากาศ คือ Halfwave ข้อดีคือ สายนำสัญญาณ 50 โอห์ม ป้อนสายอากาศได้ตรงๆ ข้อเสียคือ ได้ย่านความถี่เดียว ถ้าต้องการหลายย่านความถี่ (multi band) ก็ต้องทำหลายๆ dipole ทำให้มีศัพท์เรียกใหม่ว่า fan dipole
อยากใช้ FanDipole ในพื้นที่จำกัดบ้าง เช่น มีพื้นที่ ยาว 20 เมตร แต่อยากได้ สายอากาศสำหรับย่าน 3.75MHz (75m) ทำได้โดยใช้ คอยล์ มาช่วย อ่านบทความของ K7MEM Short Multiband Dipole
ปรับหน่วยเป็นเมตร และป้อน ตัวเลข 20 จะบอกค่าคอยล์ และการพันคอยล์ มาให้พร้อม
A linear-loaded 40M rotatable dipole / A shortened 40 meter rotary dipole / Linearly loaded rotating dipole for the 40 meter band ภาษาสเปน ดู Youtube ประกอบ
TET 2 element 20/15/10 beam
The E21EIC Station Antenna System Improved for Competition