การถูกยกเลิก สัญญาณเรียกขาน (CallSign) เริ่มขึ้นในไทยครั้งแรก เมื่อปี 2558 จำนวน 141,436 คน และเป็นประเด็น ที่ถูกพูดถึง ในกลุ่ม facebook อยู่บ่อยครั้ง "ตอนไปอบรมวิทยากรบอกว่า "สัญญาณเรียกขาน มีหนึ่งเดียว และจะติดตัวท่านไปจนตาย " "
มองในมุม ของ กสทช. เขามองว่า สัญญาณเรียกขาน เปรียบได้กับ หมายเลขโทรศัพท์ ถือเป็นทรัพย์สินของหน่วยงาน และมีวันหมด ผู้ที่ไปขอใช้ ก็จะได้ สัญญาณเรียกขาน หรือ หมายเลขโทรศัพท์ ไปใช้ในเงื่อนไขที่กำหนด เช่น ต้องต่อใบอนุญาตฯ ทุก 5 ปี หรือ ต้องจ่ายเงิน เติมเงิน ค่าโทรศัพท์ไม่ให้ขาด
ยกตัวอย่างหมายเลขโทรศัพท์ ปัจจุบันขอใช้ง่ายมาก ถ้าเป็นแบบเติมเงิน เวลาเราเติมเงิน ก็จะได้สองส่วนคือ จำนวนเงินที่จะไปหักกับค่าบริการ และ จำนวนวัน ที่หมายเลขโทรศัพท์ จะยังใช้งานได้อยู่ ตราบใดที่เรายังจ่ายเงิน หมายเลขโทรศัพท์ นั้นก็จะเป็นของเราไปเรื่อยๆ ทำนองเดียวกันกับ แบบรายเดือน จ่ายทุกเดือนก็ใช้ได้ตลอด ถ้าหยุดจ่าย 2-3 เดือน ก็จะมีการเตือน และยกเลิกสัญญา หมายเลขโทรศัพท์ นั้นก็จะไม่เป็นของเราอีกต่อไป ไม่แน่ใจว่าถ้าถูกยกเลิกหมายเลขโทรศัพท์แล้ว จะขอใช้เบอร์เดิมได้หรือไม่ แต่ส่วนใหญ่ก็จะใช้เบอร์ใหม่
วิทยุสมัครเล่น เมื่อเราไปขอใบอนุญาตใช้งาน เขาก็จะให้ บัตรใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น พร้อมกับสัญญาณเรียกขาน ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น มีอายุ 5 ปี เมื่อครบกำหนด ก็ต้องไปต่ออายุ สัญญาณเรียกขาน ก็จะยังใช้ได้ต่อไป หากเราไม่ไปต่ออายุ ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น เราจะไม่มีสิทธิ์ใช้ความถี่ เครื่องวิทยุและใบอนุญาตอื่นๆ ก็จะถูกยกเลิก กลายเป็นเครื่องเถื่อน แต่สัญญาณเรียกขาน นั้นจะถูก แขวน เอาไว้เป็นเวลา 2 ปี ระหว่างนี้ ถ้าเราไปต่อ ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น ก็จะได้สัญญาณเรียกขานเดิม แต่เรื่องไม่จบแค่นั้น ลองอ่าน ประกาศจาก สมาคมฯ แจ้งให้สมาชิกที่สังกัดทราบ
@All ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ แจ้งสมาชิกของสมาคมฯ ท่านใดที่บัตรพนักงานวิทยุหมดอายุแล้วอย่าปล่อยให้เกิน 2 ปีนะครับ ถ้าสัญญาณเรียกขานถูกยกเลิกไปแล้ว กรณีขอสัญญาณเรียกขาน “ใหม่“ ยุ่งยากกว่าเดิม
กรณีสัญญาณเรียกขาน Call Sign ถูกยกเลิก ใบอนุญาตต่างๆถูกยกเลิกพร้อมกันทั้งหมด
***ถ้าขอสัญญาณเรียกขานใหม่***
1. ถ้ามีเครื่อง จะต้องเสียค่าปรับใบใช้เครื่องที่ 1 และเครื่องที่ 2 เครื่องละ5,000 บาท เครื่องที่ 3 ขึ้นไปเครื่องละ 500 บาท(จะกี่เครื่องก็ตาม ) ข้อหาครอบครองเครื่องวิทยุโดยไม่ได้รับอนุญาต
2. เสียค่าปรับใบใช้แล้ว ถึงจะขอสัญญาณเรียกขานใหม่ได้
3. ใบตั้งสถานีก็ต้องขอใหม่ ค่าธรรมเนียมตามวัตต์ที่ขอตั้งสถานี
*** แจ้งสมาชิกของสมาคมฯ รบกวนทุกท่านตรวจสอบบัตรพนักงานวิทยุของตัวท่านเองด้วย ด้วยความห่วงใยสมาชิกทุกๆท่าน
ตั้งแต่เริ่มต้นกิจการวิทยุสมัครเล่น ปี 2531 ถึงปี 2556 น่าจะยังไม่มีนโยบายยกเลิกสัญญาณเรียกขาน เราลองมาหาข้อมูล ที่มาที่ไป ของเรื่องนี้ ว่าเป็นอย่างไร
+ระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ.2550 ในหมวด 8 สัญญาณเรียกขาน (CALL SIGN) ไม่มีการระบุถึงการยกเลิกสัญญาณเรียกขาน ไม่ว่ากรณีใด
เมื่อ พ.ศ.2556 ได้มีการรับฟังความคิดเห็นในร่างประกาศฯ กิจการวิทยุสมัครเล่น
สรุปการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและกำกับดูแลกิจการวิทยุสมัครเล่น
ความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างฯ ของ นักวิทยุสมัครเล่นท่านหนึ่ง
พอถึงปี 2557 มีการออก ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและกํากับดูแลกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ.2557 Link1 ในหมวด 6 สัญญาณเรียกขาน (CALL SIGN) มีการระบุการยกเลิกสัญญาณเรียกขานไว้ในข้อ 29 3 กรณี
ขอ้ ๒๙ คณะกรรมการจะพิจารณายกเลิกสัญญาณเรียกขานของพนักงานวิทยุสมัครเล่น ในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่คณะกรรมการจะพิจารณาและเห็นสมควรสงวนสัญญาณเรียกขานไว้เฉพาะบุคคล เป็นรายกรณีไป
(๑) กรณีที่ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นฉบับเดิมหมดอายุไปแล้วเป็นระยะเวลาเกินกว่าสองปี นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ใบอนุญาตหมดอายุ ซึ่งพนักงานวิทยุสมัครเล่นนั้นยังไม่ได้ดําเนินการขอรับ ใบอนุญาตฉบับใหม่และชําระค่าปรับกรณีการยื่นคําขอใบอนุญาตภายหลังจากใบอนุญาตฉบับเดิมหมดอายุ ตามที่กําหนด
(๒) กรณีพนักงานวิทยุสมัครเล่นที่เสียชีวิตแล้ว
(๓) กรณีพนักงานวิทยุสมัครเล่นถูกเพิกถอนใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นตามหลักเกณฑ์ การพิจารณาโทษในภาคผนวก ๗ แนบท้ายประกาศนี้
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๔๔ ความในข้อ ๒๙ ให้ใช้บังคับเมื่อประกาศนี้มีผลใช้บังคับพ้นไปแล้วหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
เมื่อครบกำหนดตามข้อความในประกาศ เมื่อ 19 มกราคม 2558 มีใบอนุญาตหมดอายุเกิน 2 ปีจำนวนหนึ่ง ณ.เวลานั้น สามารถตรวจสอบชื่อได้ในเว็บ www.nbtc.go.th จำนวน 141,436 ฉบับ
ประกาศฉบับแรก ให้ยกเลิกสัญญาณเรียกขานเมื่อใบอนุญาตหมดอายุเกิน 2 ปี
+ประกาศสำนักงาน กสทช. เรื่อง การยกเลิกสัญญาณเรียกขานของพนักงานวิทยุสมัครเล่น 22 พ.ค.2558
สรุปมติที่ประชุม กทค. 10/2558 หน้า 12
+ประกาศสำนักงาน กสทช. เรื่อง การขอรับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นฉบับใหม่และประสงค์จะใช้สัญญาณเรียกขานเดิม กรณีถูกยกเลิกสัญญาณเรียกขาน 29 ม.ค.2559 ประกาศฉบับนี้ อนุโลมให้คนที่ใบอนุญาตหมดอายุเกิน 2 ปี มาต่อใบอนุญาตแล้วยังได้ สัญญาณเรียกขานเดิม ภายในเวลา 1 ปี นับจากวันประกาศ เมื่อครบกำหนด 29 ม.ค.2560 จะไม่ได้ สัญญาณเรียกขานเดิมอีกแล้ว
ค้นหาข้อความ "ยกเลิกสัญญาณเรียกขาน" จาก เพจรับยื่นขอใบอนุญาตเกี่ยวกับวิทยุสื่อสาร เขียนไว้เมื่อ 3 มกราคม 2016 (2559)
1. การยกเลิกสัญญาณเรียกขานแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือผู้ที่ไม่ได้มาขอใบอนุญาตใหม่ภายในเวลาที่กำหนด 19 พฤษภาคม 2559 จำนวน 141,436 ฉบับ และผู้ที่มาต่ออายุขอใบอนุญาตใหม่หลังกำหนดเวลา 20 พค - 30 มิย จำนวน 1,326 ฉบับ รวมสัญญาณเรียกขานถูกยกเลิกไปทั้งสิ้น 142,762 ฉบับ
2. ผู้ที่ถูกยกเลิกสัญญาณเรียกขานแล้ว สามารถเก็บเครื่องวิทยุและอุปกรณ์ไว้ในครอบครองได้ แต่ไม่สามารถใช้ได้ โดยการขอใบอนุญาต "มี" ซึ่งต้องต่ออายุทุกๆ 1 ปี (พูดง่ายๆคือ มีแต่ออกอากาศไม่ได้)
3. ผู้ที่ถูกยกเลิก call sign จะขอใหม่ได้หรือไม่
ตอบ ได้ โดยจะได้รับจัดสรร call sign ใหม่ สามารถใช้เครื่องเดิมได้ ตอนนี้ กสทช. กำลังพิจารณาว่าจะยอมให้ขอใช้ call sign เดิม ได้หรือไม่ แล้วจะมีเงื่อนอย่างไร
ค้นหาข้อความ "ยกเลิกสัญญาณเรียกขาน" จาก เพจสมาคมนักวิทยุอาสาสมัครVRA เขียนไว้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2019 (2562) ประชาสัมพันธ์ เรื่อง แบบสำรวจความต้องการขอสัญญาณเรียกขานเดิม
5 ปีถัดมา มีประกาศ ให้ยกสัญญาณเรียกขานเมื่อใบอนุญาตหมดอายุเกิน 2 ปี อีกครั้ง
+ประกาศสำนักงาน กสทช. เรื่อง การยกเลิกสัญญาณเรียกขานของพนักงานวิทยุสมัครเล่น 26 มิ.ย.2563
สรุปมติที่ประชุม กสทช. 6/2562 หน้า 26 ยกเลิกสัญญาณเรียกขาน ใบอนุญาตหมดอายุเกิน 2 ปี จำนวน 31,419 ฉบับ
ผลของการถูกยกเลิกสัญญาณเรียกขาน จะทำให้ใบอนุญาต มี ใช้ ตั้ง ถูกยกเลิกตามไปด้วย เครื่องวิทยุในครอบครอง ก็จะกลายเป็นไม่ถูกกฏหมาย ถ้ามาขอต่อใบอนุญาต และได้ สัญญาณเรียกขานใหม่ ก็ต้องทำ ใบอนุญาต มี ใช้ ตั้ง อีกครั้ง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ประกาศฉบับนี้ จึงอนุโลมให้คิดค่าปรับเครื่องละ 200 บาท ภายใน 6 เดือนนับจากวันประกาศ ก็จะไปครบ ประมาณ 28 เม.ย.2566
+ประกาศ สำนักงาน กสทช. เรื่อง การลดค่าปรับความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นการชั่วคราว กรณีพนักงานวิทยุสมัครเล่นถูกยกเลิกสัญญาณเรียกขาน 31 ต.ค.2565
อนุโลมเรื่องค่าปรับต่อไปอีก 2 เดือน ถึง 30 มิ.ย.2566
+ประกาศสำนักงาน กสทช. เรื่องการลดค่าปรับความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นการชั่วคราว กรณีพนักงานวิทยุสมัครเล่นถูกยกเลิกสัญญาณเรียกขาน 20 เม.ย.2566
ค่าปรับ ตามปกติ ไม่มี ใบอนุญาตมี ปรับ 5000 บาท,ไม่มี ใบอนุญาตใช้ ปรับ 5000 บาท,ไม่มี ใบอนุญาตตั้ัง ปรับ 7000 บาท,
+คำสั่ง กทช. ที่ 10/2548 เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินคดีและเปรียบเทียบคดีความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 (พ.ศ.2548)
กสทช. รับฟังความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงระเบียบในกิจการวิทยุสมัครเล่น 23 พ.ค.2568 จ.สุราษฏร์ธานี
ที่อเมริกา ใบอนุญาตมีอายุ 10 ปี ถ้าไม่ต่ออายุใบอนุญาต ก็ไม่มีสิทธิ์ใช้ความถี่ ออกอากาศไม่ได้ และ callsign จะถูกแขวนไว้ 2 ปี รอการถูกยกเลิก callsign ถ้าไม่มาต่ออายุใบอนุญาต
เว็บสำหรับดู CallSign เก่า ที่ถูกยกเลิกไปแล้ว
อีกเรื่องหนึ่งที่ถูกพูดถึง เมื่อมีประเด็นยกเลิกสัญญาณเรียกขาน คือ ที่ไม่ต่อใบอนุญาตเพราะไม่อยากต้องเสียเงินค่าสมาชิกสมาคมวิทยุสมัครเล่นฯ
ประกาศฉบับปัจุบัน ประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและกํากับดูแลกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ.2557 Link1 ไม่ได้เข้มงวดเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกสมาคมวิทยุสมัครเล่นฯ มากนัก ซึ่งในหมวด 3 ข้อ 14 มีเนื้อหาดังนี้
ข้อ ๑๔ พนักงานวิทยุสมัครเล่นต้องมีสถานะเป็นสมาชิกขององค์กรวิทยุสมัครเล่นที่จดทะเบียน
นิติบุคคลเป็นสมาคมที่คณะกรรมการรับรอง
ทั้งนี้ องค์กรวิทยุสมัครเล่นตามความในวรรคแรกต้องจัดทําหนังสือรับรองสถานภาพการเป็นสมาชิก
โดยมีรูปแบบตามที่สํานักงานกําหนด หรือบัตรประจําตัวสมาชิก เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการยื่นคําขอรับ
ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ความเห็นส่วนตัว ก็หมายถึง ต้องเป็นสมาชิกสมาคมวิทยุสมัครเล่นฯ ที่ใดก็ได้สักแห่ง ก็เข้าเงื่อนไขข้อนี้แล้ว ไม่จำเป็นจะต้องเป็นสมาคมในพื้นที่ ที่เราอยู่ เราแก้ปัญหานี้ โดยสมัครแบบตลอดชีพ ให้จบๆ ไป
บางสมาคมฯ ทางภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงหนือ เก็บค่าสมาชิกสมาคมแบบตลอดชีพ 600 บาท ภาคกลาง1 ภาคกลาง2 เก็บค่าสมาชิกสมาคมแบบตลอดชีพ 700 บาท
ถ้าย้อนกลับไปปี 2544 ระเบียบคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2544 Link1 มีเงื่อนไขเคร่งครัดมาก เกี่ยวกับการเป็นสมาชิกสมาคมวิทยุสมัครเล่น อ่านจากข้อ 6 มีการเพิ่มข้อ 12/1 ถึง 12/6 ในระเบียบฯปี 2530 สรุปได้ว่า
1.ต้องเป็นสมาชิกสมาคมวิทยุสมัครเล่น จึงจะขอใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นได้ ข้อนี้ไม่ต่างจากปัจจุบัน
2.ต้องเป็นสมาชิกสมาคมวิทยุสมัครเล่น ในพื้นที่ ที่เราอยู่ หรือใกล้เคียง ปัจจุบันไม่มีข้อความระบุไว้
3.ถ้าย้ายที่อยู่ ย้ายจังหวัด ต้องแจ้งย้ายออก ย้ายเข้า สมาคมวิทยุสมัครเล่น ด้วย ปัจจุบันไม่มีข้อความระบุไว้
4.ที่ไม่มีข้อมูลคือ ในยุคนั้น เก็บค่าสมาชิกสมาคมวิทยุสมัครเล่น เป็นเงินเท่าไร
พอถึงปี 2550 ระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ.2550 Link1 ลองอ่านดูแล้ว ไม่พบเนื้อหา ที่จะต้องเป็นสมาชิกสมาคมวิทยุสมัครเล่น หรือ กฏข้อนี้ ไปโพล่ใน ระเบียบฉบับอื่นๆ ที่แก้ไข หรือออกตามมา ก็ไม่รู้ ไม่ได้ค้นหาเอกสารเพิ่ม
ข้อสรุปในปัจจุบัน ปี 2568 ไปสมัคร สมาชิกสมาคมวิทยุสมัครเล่น แบบตลอดชีพ ที่เก็บค่าสมาชิก 600 - 1000 บาท ก็จบปัญหา ถ้าอายุน้อยๆ คุ้มมาก อายุ 60 ก็ยังคุ้ม ถ้าเราจะอายุยืนยาวไปถึง อายุ 75-80 ปี