IC-7300 ถึงแม้จะเป็นเครื่องวิทยุ ที่วางตัวไว้เป็น Entry Level เป็นวิทยุย่าน HF ตัวแรกๆ ของนักวิทยุสมัครเล่น แต่ก็ได้ชื่อว่าเป็น เครื่อง BaseStation เพราะฉนั้น ฟังก์ชั่นลูกเล่นการใช้งาน มีมาเต็ม เนื่องจาก IC-7300 ขายดีมาก คนใช้งานก็มาก มีทั้งใช้งานแล้วถูกใจ และผิดหวัง ทำให้มีข้อมูลมากมาย สามารถค้นหาในอินเตอร์เน็ต ค่อยๆเรียนรู้กันไป คู่มือภาษาอังกฤษ Basic Manual / Full Manual แนะนำให้ดู Youtube Icom IC-7300 From A to Z (มี Subtitles คลิก CC แล้วตั้งค่าใน ฟันเฟือง ให้แปลไทย) ไปพร้อมกับอ่านคู่มือ อันนี้ก็ดี 50 นาทีรู้เรื่อง IC 7300 Beginner's Guide <== ฟังไม่เคยจบ หลับทุกที Icom IC-7300 Overview at ML&S
สิ่งแรกที่ควรรู้ การ RESET เครื่อง ลองทำจากใน Software กดปุ่ม MENU ใต้จอ แล้วเลือก SET ในจอ <> Others <> Reset <> เลือก Partial Reset หรือ All Reset แล้วจะมีคำถาม และให้เรายืนยัน ดูวิธีใน youtube
ถ้าเครื่องมีปัญหา เข้าหน้าจอไม่ได้ ทำ HardReset กดปุ่ม CLEAR และปุ่ม V/M ค้างไว้ (ปุ่มอยู่ขวาบนของเครื่อง) แล้วกดปุ่ม POWER จะไม่มีคำถามอะไรต่อ ALL RESET ให้เลย
Update Firmware เสียบ SD Card เข้าเครื่อง กดปุ่ม MENU ใต้จอ แล้วเลือก SET ในจอ <> SD Card <> Format <> ยืนยัน แล้วเข้า Unmount <> ยืนยัน (ควรทำทุกครั้งก่อนถอด SD Card ออกจากเครื่อง) การ Format จะสร้าง โฟลเดอร์ IC-7300 นำ SD Card ออก จากนั้นนำไปใส่ คอมพิวเตอร์ Copy File Firmware 7300_142.dat ใส่ไว้ใน โฟลเดอร์ IC-7300
เสียบ SD Card เข้าเครื่อง กดปุ่ม MENU ใต้จอ แล้วเลือก SET ในจอ <> SD Card <>Firmware Update <> มีอีกหลายขั้นตอน ดูใน youtube ต่อได้
ได้เครื่องมาแล้วแต่ยังไม่พร้อมอะไรซักอย่าง ไม่มีสายอากาศ ไม่มี Dummy Load อยากเปิดเครื่องเพื่อดูหน้าจอ ได้ไหม
ปรับปุ่ม RF/SQL ให้อยู่ตรงกลาง ปรับปุ่ม AF มาซ้ายสุด เปิดไฟเข้าเครื่อง โดยกดปุ่ม Power แล้วรีบปรับความถี่ ให้ออกนอกย่านวิทยุสมัครเล่น ไปอยู่ในย่านกระจายเสียง ที่รับอย่างเดียว ยกตัวอย่าง ย่านสมัครเล่น 14.000 - 14.350 ให้ปรับความถี่ไป 13.500 หรือ 14.500 แค่นี้ก็ปลอดภัยแล้ว นอกย่านสมัครเล่น TX ไม่ได้แน่ๆ ปรับปุ่ม AF ให้พอได้ยินเสียง ปรับปุ่ม RF/SQL ไปทางขวาให้เสียงเงียบ สังเกตุไฟ TX/RX สีเขียวจะหายไป ถ้าจะให้แน่นอน
ปรับลดกำลังส่ง ลงให้น้อยสุด
ถ้าวันเวลาที่ตั้งไว้หายไป กลับเป็นค่าเริ่มต้น ไม่ต้องตกใจ เป็นเพราะ
The original battery (BT381) is a ML414H, 3V lithium rechargeable ให้เปิดเครื่องไว้ทิ้งไว้เพื่อชาร์จ ถ้าชาร์จเต็ม จะใช้ได้ประมาณ 48 ชม มีบางคน
ดัดแปลงใช้ แบต CR2032 หลังหมดประกันค่อยทำ / ทดลองเปิดเครื่องไว้ 6 ชม แล้วปิดเครื่อง เปิดเครื่องมาดูเป็นระยะ ผ่านไป 48 ชม เวลาแสดงได้ตรงอยู่
สิ่งแรกที่แปลกใจ รับความถี่นอกย่านวิทยุสมัครเล่นได้ ตามรูปด้านบน รับได้ถึง 74 MHz ความถึ่ที่พอรับได้เป็น คลืน 540 MHz AM และ คลืนสั้น ภาษาจีน 21.490 MHz AM
สถานีวิทยุกระจายข่าวอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา ออกอากาศด้วยความถี่ 6765.1 Khz และ 8743.0 KHz USB //
Hot 100 SWL List ซื้อเครื่องมาใหม่ หรือ ALL RESET ครั้งแรกที่เปิดเครื่อง จะขึ้นหน้าจอ แสดงความถึ่ 14.100.00 MODE USB และ S Meter
ถ้าต้องการเปลี่ยนย่านความถึ่ ใช้นิ้วแตะที่ ตัวเลข 14 จะมีหน้าจอให้เลือกย่านความถี่ แตะที่ย่านความถี่ที่ต้องการ
ถ้าต้องการเปลี่ยน MODE ใช้นิ้วแตะที่ USB จะมีตัวเลือกขึ้นมา
แล้ว Spectrum Scope ที่เป็นแถบความที่อยู่ไหน กดปุ่ม MENU (อยู่ใต้จอ) แล้วแตะที่ SCOPE ในจอ
คล้ายๆ กับที่เราเห็นใน Youtube หรือยัง
ลองเปลี่ยนไปย่าน 7 MHz และ MODE เป็น LSB
Spectrum Scope จะแสดงความถึ่กลาง และ bandwidth ข้างละ 25 KHz ถ้าเราต้องการดูความถี่ทั้งย่าน แตะที่ CENT/FIX
ใช้ลูกบิดใหญ่ หรือ เล็กที่อยู่ด้านขวาของจอ หมุนเลือกความถี่ ที่ต้องการ ความถี่ ที่เคยได้ยิน คนไทย ใช้คุยกัน 7.168 MHz LSB
ศูนย์สายลม HS0AB แจ้งทดสอบสัญญาณ 7.178 MHz LSB
มาดูด้านส่งกันบ้าง วัด SWR แบบ เฉพาะความถี่นั้นๆ อันดับแรก ลดกำลังส่งลงมาก่อน กดลูกบิด MULTI จะมีเมนูขึ้นมาในจอ อันแรก หมุนลูกบิด MULTI ลดกำลังส่งให้เหลือประมาณ 10-20 % แล้วกดปุ่ม EXIT ใต้จอ
กดปุ่ม MENU (อยู่ใต้จอ) แล้วแตะที่ METER ในจอ เลือกความถี่ที่ต้องการวัด SWR เปลี่ยน MODE เป็น RTTY กดปุ่ม PTT ที่ไมค์ แล้วอ่านค่า SWR ด้านความถี่ต่ำ อ่านได้ หนึ่งนิดๆ
ด้านความถี่สูง ได้เกือบๆ 1.5 ไม่ถือว่าสูง
วัด SWR แบบเป็นช่วงความถี่ แสดงผลเป็นกราฟ กดปุ่ม MENU (อยู่ใต้จอ) แล้วแตะที่ SWR ในจอ เปลี่ยน MODE เป็น RTTY เลือก STEP เป็น 10 KHz เลือก BAR เป็น 13 เลือกความถี่กลาง 7.140 ที่ต้องการวัด SWR จะวัดได้ครอบคลุม ตั้งแต่ 7.080 ถึง 7.200 กดปุ่ม Play แล้วกดปุ่ม PTT ที่ไมค์ ค้างไว้นิดหน่อย แล้วปล่อย จำนวน 13 ครั้ง
ผลที่ได้
เลื่อนความถี่กลาง ลงมาที่ 7.030 การวัดจะเริ่มตั้งแต่ 7.000
การใช้ TUNER กรณีที่วัด SWR ได้สูง แต่ไม่เกิน 3:1 สามารถใช้ TUNER ในเครื่องช่วยปรับค่าให้ลงมาได้ แต่ก็ควรจะใช้ สายอากาศที่ตรงย่าน และวัด SWR อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะดีกว่า
วัด SWR โดยที่ยังไม่ใช้ TUNER ได้ค่าค่อนข้างสูง
กดปุ่ม TUNER อยู่ด้านซ้ายของเครื่อง จะมีสัญลักษณ์ TUNE ขึ้นในจอ กดปุ่ม TUNER ค้างไว้ 1 วินาที TUNER จะเริ่มทำงาน จากนั้นลองวัด SWR มันดีเกินไป ไม่ขึ้นเลย
ปรับ Band Edges ให้ตรงกับ BandPlan ที่ กสทช อนุญาตให้ใช้ความถี่ในไทย มี 2 จุดคือ ความถี่ 3.5-3.99 MHz กสทช อนุญาตให้ใช้ เพียง 3.5 - 3.6 เราจะตั้งตัวเตือน ออกนอก Band และ กด PTT ไม่ได้ด้วย อีกจุด ความถี่ 7.0-7.3 MHz กสทช อนุญาตให้ใช้ เพียง 7.0 - 7.2 เราจะตั้งตัวเตือน ออกนอก Band และ กด PTT ไม่ได้ด้วย พร้อมทั้งตั้งให้ Spectrum Scope แสดงแค่ 7.0 -7.2 MHz เนื่องจาก ความถี่ถัดจาก 7.2 เป็นวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้น
กดปุ่ม MENU (อยู่ใต้จอ) แล้วแตะที่ SET <> Function<> Band Edge Beep เลือก ON (User)&TX Limit
แตะปุ่มลูกศร ชี้ลง เข้า User Band Edge แตะเลือกลำดับ 2 แก้ไขเป็น 3.5 - 3.6
ตั้งให้ Spectrum Scope แสดงแค่ 7.0 -7.2 MHz
แตะ EXPD/SET ค้างไว้ จะขึ้น Scope set เลือก Fixed Edges
เลือกช่วงความถี่ 6.0 - 8.0
แก้ไขรายการแรก จาก 7.0 - 7.3 เป็น 7.0 - 7.2 แล้วออกไปหน้าหลัก
หน้าจอความถี่ แสดงแค่ 7.2
ปรับ Spectrum Scope/Waterfall Options
จากนั้นปรับ RF/SQL และ REF ให้เหมาะสม
ส่วนของ Spectrum Scope/Waterfall ให้ปรับ REF ให้เส้น Noise Floor ลดลง
ต้องหาตัวแปลง Plug สเตอริโอ ขนาด 6.5 เป็น 3.5 หาได้ไม่ยาก ราคาไม่แพง
เราไปตั้งค่าในเครื่องกันก่อน เลือกความถี่ที่คาดว่าจะรบกวนคนอื่นน้อยสุด เลือกโหมด CW
กดปุ่มเมนู ใต้จอ เลือก KEYER
แล้วกดเลือก EDIT/SET
กดเลือก CW-KEY SET
กดเลือก Key Type
เลือกได้เลยว่า เราจะต่ออะไรเข้ากับเครื่อง // แต่ถ้าต่อผ่านอุปกรณ์ Keyer ภายนอก เลือก Straight
ถ้าต่อ Straight Key ความเร็วในการส่ง ขึ้นอยู่กับมือของเรา แต่ถ้าต่อ Paddle เราจะตั้งความเร็วโดย กดปุ่ม Multi กดเลือก KEY SPEED แล้วหมุนปุ่ม Multi เลือกความเร็วที่เหมาะสม
เวลาจะออกอากาศ ให้กดปุ่ม VOX/BKIN ให้บนจอแสดง BKIN หรือ F-BKIN ถ้าจะฝึกซ้อมเคาะ ก็ปลด BKIN ออก
ปรับความถี่รับให้ตรงกับที่ส่งมา หมุนลูกบิดใหญ่ ไปใกล้เคียงกับความถี่ แล้วกดปุ่ม AUTOTUNE อยู่ใต้ไฟเขียว/แดง
กดปุ่มเมนู ใต้จอ เลือก SET <> Display
LCD Backlight ตั้งสัก 10 % เพราะส่วนใหญ่เราใช้เครื่องตอนกลางคืน
Screen Saver ตั้งเวลาเมื่อไม่มีการใช้งาน หน้าจอจะมืดลงในเวลากี่นาที จอมืดแต่ยังได้ยินเสียงอยู่
My Call ป้อนชื่อได้ 10 ตัว จะแสดงตอนเปิดเครื่อง
บันทึกภาพหน้าจอ ลง SD Card
เสียบ SD Card เข้าเครื่อง กดปุ่ม MENU ใต้จอ แล้วเลือก SET ในจอ <> SD Card <> Format <> ยืนยัน
กดปุ่ม MENU ใต้จอ แล้วเลือก Function ในจอ กดปุ่มลูกศร เพื่อไปหน้า 7 Screen Capture [POWER] SW เลือกเป็น ON / Screen Capture File Type จะเป็น PNG หรือ BMP ก็ได้
การใช้งาน แตะปุ่ม POWER รูปจะถูก Save ไว้ใน SD Card โฟลเดอร์ /IC-7300/Capture
เลือกความถึ่บนหน้าจอ WaterFall
แตะหน้าจอ ในจุดที่ความถี่ ที่เราต้องการ หน้าจอจะขยายตรงจุดนั้น แล้วแตะอีกครั้ง ความถี่ก็จะเลื่อนมาใกล้เคียง
เลือกความถี่แบบละเอียด
ลองสังเกตุ ถ้าหมุนลูกบิดใหญ่ ความถี่หลังจุดทศนิยมจะเปลี่ยน 2 หลัก ถ้าหมุนลูกบิด Multi ความถี่หลังจุดทศนิยมจะเปลี่ยนหลักเดียว และลงท้ายด้วยเลข 0
ถ้าแตะที่ตัวเลขหลังจุดทศนิยม ตัวเลขจะเพิ่มเป็น 3 หลัก หมุนหาความถี่ด้วยลูกบิดใหญ่ ได้ละเอียดมากขึ้น
เลือกความถี่แบบเร็วๆ
ถ้าหมุนลูกบิดแบบเร็วๆ เครื่องจะรู้เองว่า เราต้องการเปลี่ยนความถี่แบบหยาบๆ ความถี่ก็จะเคลื่อนไปอย่างไว
อีกวิธี ให้แตะที่ตัวเลขชุดตรงกลาง จะมี สัญญลักษณ์ สามเหลี่ยมเล็กๆ ขึ้นมา ลองหมุนลูกบิดใหญ่ ความถี่ก็จะเคลื่อนไปอย่างไว
ถ้าแตะค้างไว้ จะมีตัวเลือก ขึ้นมา คงไม่ต้องเปลี่ยน 0.1k ความถี่ก็เปลื่ยนอย่างไว แล้ว
อีกกรณีหนึ่ง ความถี่มากระจุก อยู่แถว 7.017 MHz (ลองใช้
WebSDR เข้าไปฟัง สถานีใน ญี่ปุ่น รับได้ชัดมาก ในความถี่กลุ่มนี้ ณ.วันเวลานั้น) เราอยากจะดูช่องความถี่ แบบละเอียด
กด CENT/FIX ในจอ ความถี่ 7.017 MHz จะอยู่กลางจอ ปรับ SPAN แบบละเอียดสุด 2.5 K ปรับ REF ให้เส้นความถี่ใน Waterfall แสดงขึ้นมาตามเหมาะสม
เมื่อการแสดงผลเป็นแบบ Center เวลาเราหมุนลูกบิดใหญ่ Waterfall จะเลื่อน ดูแล้ว งง ๆ
เราจะไม้ให้ Waterfall เลื่อน ทำได้โดยการกด CENT/FIX ค้างไว้นิดหนึ่ง ในจอ ตัวอักษร CENTER จะเปลี่ยนเป็น SCROLL-C ทีนี้ Waterfall ไม่เลื่อนแล้ว แต่ เส้นสีเขียวแนวตั้ง มันเคลื่อนที่เร็วไป ให้แตะที่ ตัวเลข 2 หลักหลังจุดทศนิยม ค้างไว้ มันจะเปลี่ยนเป็น 3 หลัก เราจะหมุนลูกบิดใหญ่ ได้ละเอียดขึ้น
มาเรื่องปุ่มช่วยให้เรารับสัญญาณได้ดีขึ้น กันบ้าง มี 4 ปุ่ม
ปุ่ม P.AMP ATT ถ้ากดค้าง จะกลายเป็น ATT = ON ใช้ในกรณีสัญญาณแรงมาก อยู่ใกล้สถานีใหญ่ แตะปุ่มอีกครั้ง เป็น ATT = OFF // แตะปุ่ม P.AMP ATT จะขยายสัญญาณ ได้ 2 ระดับ เป็น P.AMP 1 , P.AMP 2 , P.AMP OFF
ปุ่ม NOTCH ใช้ในกรณี ความถี่ ที่เราฟังอยู่ แล้วมีความถี่อื่น มาเบียดอยู่ใกล้ เราต้องการลดการได้ยิน ความถี่อื่น นั้น ปุ่ม NOTCH ค้างไว้ จะมีรายการที่ต้องปรับของ NOTCH บนจอ POSITION ถ้าอยู่ตรงกลาง ความถี่ที่เราฟังอยู่จะเงียบ ให้หมุนลูกบิด Multi ไปในตำแหน่งความถี่อื่น อยู่ ความถี่อื่น ก็จะถูกลดเสียงลง
ปุ่ม NR ลดสัญญาณรบกวนลง แน่นอนว่าสัญญาณที่เราต้องการฟังก็ลดลงไปด้วย นิดหน่อย แต่จะฟังได้ชัดขึ้น กดปุ่ม NR ค้างไว้ ปรับได้ 5 ระดับ ถ้าแตะปุ่ม NR ก็จะเป็น NR=ON , OFF
ปุ่ม NB ยังไม่ค่อยเข้าใจ ติดไว้ก่อน