วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น สอบ ไม่ยาก

ท่านที่สนใจในกิจการสื่อสาร ใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อสื่อสาร เป็นงานอดิเรก การ สอบ เป็นนัก วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น จะทำให้เราใด้ใช้เครื่องวิทยุ คลื่นความถี่วิทยุ และตั้งสถานี ได้อย่างถูกกฏหมาย การ สอบ ไม่ยากครับ ขอเพียงแต่มีความตั้งใจ



ในช่วงปลายปี กสทช จะประกาศกำหนดการสอบ เพื่อรับ ประกาศนียบัตรพนักงาน วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น ของปีถัดไป  ซึ่งจะจัดให้มีการสอบกระจายไปทุกๆภาค มีทั้ง สอบอย่างเดียว  และ  อบรมแล้วสอบในวันเดียวกัน

จากประสบการณ์ ถ้าเลือกได้ ให้เลือก แบบ สอบ อย่างเดียว เพราะใช้เวลาอย่างมาก 2 ชั่วโมงก็เสร็จสิ้น  ต่างจากแบบ อบรมแล้วสอบ จะใช้เวลาในการอบรม 6-7 ชั่วโมง แล้วมาสอบ อีก 1 ชั่วโมง  ระหว่างที่นั่งอบรมนั้น เป็นอะไรที่ ไม่มีความสุขเลย

การสมัครสอบ  ไม่ต้องรีบสมัคร ถ้าเรายังเตรียมตัวสอบไม่พร้อม เพราะมีค่าใช้จ่าย เป็นค่าเดินทาง ค่าที่พัก และค่าอบรมสอบ  แต่บางคนก็บอกว่า สมัครไปเลย ให้ไฟลนก้น จะได้พยายามทำข้อสอบ ให้ผ่าน  ถ้าพร้อมสอบเมื่อไร สมัครไปยังสมาคมฯ ที่เปิดสอบ ก่อนสอบ 3-4 สัปดาห์ ก็ทันครับ 

สถิติปี 2561-2565 ใช้ข้อสอบกลาง ปี 2560 จำนวน 783 ข้อ ในการสอบแต่ละครั้ง มีผู้สอบผ่าน ประมาณ 50-65 เปอร์เซนต์  ถ้าเตรียมตัวไม่ดี โอกาสสอบไม่ผ่าน มีสูงมาก แต่หลังจากใช้ข้อสอบกลางชุดใหม่ ปี 2565 จำนวน 500 ข้อ เริ่มสอบในปี 2566 ผลการสอบดีขึ้นเป็น 70 - 80 เปอร์เซนต์   

การเตรียมตัวสอบ เริ่มจาก ทดสอบความรู้ของเราเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น โดยลอง ทำแบบทดสอบ  ของ กสทช. โดยที่ยังไม่ได้อ่านข้อสอบกลาง เพื่อที่จะดูว่า วิชาใด เราทำคะแนนได้มากน้อยเท่าไร เป็นแนวทางว่า เราทำคะแนนได้น้อยในวิชาใด ก็จะไปเน้นอ่านวิชานั้น  ทำแบบทดสอบเสร็จแล้ว กดดูเฉลย นับคะแนนที่ตอบถูกแต่ละวิชา ข้อใดตอบถูกจะมีแถบสีเขียว อย่างเดียว ข้อใดผิด จะมีแถบสีน้ำตาล และแถบสีเขียว วิชา 1 ข้อ 1-25 ,วิชา 2 ข้อ 26-45 ,วิชา 3 ข้อ 46-65 ,วิชา 4 ข้อ 66-85 ,วิชา 5 ข้อ 86-100  ถ้าคะแนนรวมได้ 20-30 คะแนน ไม่ต้องกังวลใจ เป็นเรื่องปกติ

วิชาที่ 3 จะเป็นวิชาที่ได้คะแนนน้อยเป็นส่วนใหญ่ ถ้าท่านใด มีความรู้ทางด้านไฟฟ้า และโทรคมนาคม อาจจะได้เปรียบนิดหน่อย  วิชานี้มันยาก และต้องอ่านเยอะ 200 ข้อ สรุปว่า ไม่ต้องอ่าน

เกณฑ์การผ่าน คือ 60 ข้อ แต่เราควรจะทำให้ได้ 70-80 ข้อ เพื่อให้มั่นใจว่า สอบผ่านแน่นอน

เราจะฝึกกันด้วยวิธี อ่านวิชาที่จำนวนข้อน้อยๆ แต่ได้คะแนนมาก เป็นลำดับแรก เพื่อเก็บคะแนนให้มากที่สุด

แนะนำให้อ่านวิชาที่ 5 4 2 ถ้าอ่านและจำใด้หมด (200 ข้อ) ท่านจะสอบได้คะแนน 55 คะแนน

จากนั้นค่อยไปอ่าน วิชาที่ 1 ถ้าอ่านและจำใด้หมด (100 ข้อ) รวมวิชาที่ 5 4 2 เป็นทั้งหมด 300 ข้อ ท่านจะสอบได้คะแนน 80 คะแนน

วิชาที่ 3 ทฤษฏีต่างๆ เป็นเนี้อหาทางไฟฟ้า และ โทรคมนาคม ไม่ต้องอ่าน แต่ในระหว่างที่เรา ทดลองทำแบบทดสอบ ให้เราจำคำตอบที่ถูกต้อง ของข้อที่เราตอบผิด วิธีนี้ จะช่วยเพิ่มคะแนนให้เราได้


ใช้วิธีการจำคำถาม และคำตอบที่ถูกต้องเท่านั้น ไม่ต้องสนใจเรื่องความเข้าใจ (ความรู้ไว้หาที่หลังได้หลังสอบผ่าน)

ข้อสอบกลางวิชา 54213 ที่ปรับรูปแบบให้อ่านง่ายๆ แล้ว เน้นคำถาม และคำตอบที่ถูกต้อง  รูปแบบdocx  รูปแบบpdf  

ให้ท่านที่จะเข้าสอบ ให้ฝึกทำ แบบฝึกหัดทดสอบแยกเป็นรายวิชา ตามคำแนะนำด้านบน  เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ถ้าฝึกอย่างจริงจัง ท่านสอบผ่านแน่นอน

ฝึกรายวิชา จนได้คะแนนมากที่สุดแล้ว  ให้กลับไป ทำแบบทดสอบ  ของ กสทช. เพื่อดูว่า เมื่อจำลองการสอบ คะแนนอยู่ในเกณฑ์ ผ่าน หรือไม่

วิชาที่ต้องสอบมี 5 วิชา  อยู่ในข้อสอบกลาง จำนวน 500 ข้อ สุ่มมาออกข้อสอบ 100 ข้อ

วิชาที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฏ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่น
จำนวน 100 ข้อ  สุ่มออกข้อสอบ 25 ข้อ  คิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ ควรอ่านและจำให้ได้เป็นลำดับที่ 4

วิชาที่ 2 การติดต่อสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่น
จำนวน 80 ข้อ  สุ่มออกข้อสอบ 20 ข้อ  คิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ ควรอ่านและจำให้ได้เป็นลำดับที่ 3

วิชาที่ 3 ทฤษฏีต่างๆ สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น
จำนวน 200 ข้อ  สุ่มออกข้อสอบ 20 ข้อ  คิดเป็น 10 เปอร์เซนต์ ควรอ่านและจำให้ได้เป็นลำดับที่ 5

วิชาที่ 4 หลักปฏิบัติของนักวิทยุสมัครเล่น
จำนวน 80 ข้อ  สุ่มออกข้อสอบ 20 ข้อ  คิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ ควรอ่านและจำให้ได้เป็นลำดับที่ 2

วิชาที่ 5 คุณธรรมและจริยธรรมของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
จำนวน 40 ข้อ  สุ่มออกข้อสอบ 15 ข้อ  คิดเป็น 37 เปอร์เซนต์ ควรอ่านและจำให้ได้เป็นลำดับที่ 1

ได้ลองนำคนที่ไม่เคยสนใจ วิทยุสมัครเล่นมาฝึก ตามวิธีข้างบน ก็สามารถ ทำคะแนนให้ผ่าน ได้ในเวลาอันสั้น สอบขั้นต้นให้ผ่าน ใน 7 วัน   

ท่านที่เลือก อบรมและสอบ ในวันอบรม ไปถึงเช้าหน่อย ลงทะเบียนก่อน เริ่มอบรมเวลา 8.30 มี วิทยากร จาก กสทช มาบรรยาย 4 วิชา เนื้อหาก็จะมุ่งไปสู่ ข้อสอบกลางนั้นเอง powerpoint 1   powerpoint 2   powerpoint 3   powerpoint 4  powerpoint6-2023  หรือ https://bit.ly/ar-nbtc ฟังบรรยาย เช้าถึงเย็น มีพักเบรก เช้า บ่าย พักรับประทานอาหารกลางวัน มีอาหารเลี้ยงฟรี  จะเข้าห้องน้ำ หรือหลบไปหลับสักตื่น ก็ตามสบาย กว่าจะอบรมเสร็จ และเริ่มสอบ ก็ประมาณ 16.30 น.


ก่อนเริ่มสอบ 15 นาที เจ้าหน้าที่ กสทช ที่ควบคุมการสอบ จะอธิบายวิธีการกรอกข้อมูลใน กระดาษคำตอบ ก่อนสอบปิดอุปกรณ์สื่อสาร และเอาสัมภาระวางไว้ใต้เก้าอี้  การจัดที่นั่งสอบ บางแห่งก็จะมีโต๊ะและเก้าอี้   บางแห่ง มีเก้าอี้เลคเชอร์ ตัวเดียว ก็จะมีกระดานขนาดใหญ่กว่ากระดาษ A4 เล็กน้อย สำหรับรองเขียน กระดาษคำตอบ  ข้อสอบมีจำนวนหลายชุด ระบุชุดของข้อสอบ ในกระดาษคำตอบให้ถูกต้องด้วย  มีอะไรสงสัย ให้ถามเจ้าหน้าที่ควบคุมการสอบ นะครับ  อย่าถามกันเอง  ทำข้อสอบเสร็จ ก็เดินเอากระดานรอง กระดาษคำถาม กระดาษคำตอบ ไปให้กรรมการคุมสอบ


ผลการสอบจะออกภายใน 1 เดือน โดยจะมี SMS แจ้งเข้ามาที่โทรศัพท์ ที่แจ้งไว้ตอนสมัครสอบ  พร้อมกันนั้น ก็จะมีประกาศในเว็บของ กสทช สอบอย่างเดียว <> อบรมและสอบ

Sms ผลสอบ วิทยุสมัครเล่น จาก กสทช

จากนั้นรอสัก 2 สัปดาห์ กสทช จะส่ง ใบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ไปยัง สมาคมวิทยุสมัครเล่น ที่เราไปสอบ  เพื่อรอแจกจ่ายให้ผู้ที่สอบผ่าน

ระหว่างที่รอ ใบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ก็ไปเตรียม รูปถ่าย 1 นิ้ว (ถ่ายด้วยโทรศัพท์ ก็ได้) สำหรับ ติดบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น และบัตรสมาชิกสมาคมวิทยุสมัครเล่น  ถ่ายเอกสาร บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และเตรียมกรอกเอกสาร ใบ คท.2 ด้วย รายละเอียดพวกนี้ สมาคมวิทยุสมัครเล่น ที่จัดสอบ จะแจ้งใน line กลุ่ม  อย่าลื่มเตรียมเงินไว้ด้วย ประมาณ 800 บาท สำหรับ เป็นค่าสมาชิกสมาคมวิทยุสมัครเล่น 5 ปี และค่าทำบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น

ถ้าท่านอายุน้อยๆ และคิดว่าจะเล่นวิทยุไปตลอด แนะนำให้สมัครสมาชิกสมาคมแบบตลอดชีพ คุ้มกว่าแบบราย 5 ปี  ถ้า ณ. เวลานั้นพอมีกำลังทรัพย์ ที่จะทำได้ เคยเห็นข้อมูลว่า บางสมาคมฯ ทางภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงหนือ เก็บค่าสมาชิกสมาคมแบบตลอดชีพ 600 บาท   ภาคกลาง1 ภาคกลาง2  เก็บค่าสมาชิกสมาคมแบบตลอดชีพ 700 บาท

ถ้าสมาคมวิทยุสมัครเล่น ที่จัดสอบนั้น เป็นพื้นที่เดียวกันกับ ที่ท่านอยู่อาศัย สมมุติ สมาคมวิทยุสมัครเล่น น่าน จัดสอบ และท่านก็มีบ้านอยู่ที่น่านด้วย แบบนี้ ง่ายเลย แจ้งความประสงค์ ให้สมาคมวิทยุสมัครเล่น น่าน เป็นผู้ดำเนินการ ขอ CallSign และบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น พร้อมกับเป็นสมาชิก สมาคมวิทยุสมัครเล่น ไปด้วย

ท่านที่ไปสอบต่างพื้นที่ เมื่อได้รับใบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น แล้ว ก็สามารถไปติดต่อสมาคมวิทยุสมัครเล่น ในพื้่นที่ ที่ท่านอยู่  เขาน่าจะอำนวยความสะดวกในการ ขอ CallSign และบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น ให้ท่านได้ตามสมควร หรือแนะนำแนวทางให้ได้ จะลองขอใบอนุญาตเองก็ได้ไม่ยุ่งยาก

 

ถ้าเป้าหมายของท่านคือ การไปต่อ เพื่อเป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง เพื่อที่จะใช้ความถี่ย่าน HF  ผมแนะนำให้ไปทางเลือกพิเศษ คือ การสอบ วิทยุสมัครเล่น อเมริกา แล้วนำผลสอบที่ได้ มาเทียบขั้นกลางไทย ข้อดีคือไม่ต้องสอบ รับรหัสมอร์ส  เพียงแต่ต้องฝึกทำข้อสอบวิทยุสมัครเล่นอเมริกา ให้มากหน่อย

ท่านที่จะใช้แนวทางนี้ แต่ไม่มีญาติหรือคนรู้จัก ที่จะขอใช้ที่อยู่ในอเมริกา ในการสมัครสอบ วิทยุสมัครเล่น อเมริกา บอกได้เลย เรื่องที่อยู่ไม่ใช่ปัญหา

ไม่ต้องกังวลเรื่องการอ่านข้อสอบภาษาอังกฤษ เพียงท่านมีความรู้ภาษาอังกฤษเบื้องต้น อ่านข้อสอบและตอบคำถามได้ ตัวอย่างผม รู้อังกฤษแค่งูๆ ปลาๆ แค่มีความตั้งใจ อ่านและจำข้อสอบ สองสัปดาห์ ก็สามารถทดลองทำข้อสอบ Technician Class ผ่านไปได้ หลังจากนั้นผมก็อ่าน General Class ต่ออีก สองสัปดาห์ ก็สามารถทดลองทำข้อสอบ ผ่านได้ทั้ง 2 Class ถ้าให้เวลามากๆหน่อยก็ Class ละ หนึ่งเดือน รวมๆแล้ว มีเวลาสัก สามเดือน กำลังดี

ข้อดีของการใช้แนวทางนี้คือ ขอให้ท่านมี CallSign ไทย จะได้มา กี่วัน กี่เดือน ก็สมัครได้ ถ้าท่านมีความพร้อมที่จะสอบ ข้อจำกัดเรื่องเวลาตัดออกไปได้เลย  บางปีอาจจะมีสอบมากกว่า 1 ครั้ง ถ้ารอสอบขั้นกลางไทย ต้องรออย่างน้อย หนึ่งปี และต้องสอบ รหัสมอร์ส ด้วย

สอบขั้นต้นไทยเสร็จแล้ว ไปเตรียม การสอบ วิทยุสมัครเล่น อเมริกา ต่อกันเลยนะครับ เพื่อความก้าวหน้าของเราเอง


บันทึกความทรงจำ นักวิทยุสมัครเล่น

บันทึกความทรงจำ นักวิทยุสมัครเล่น บันทึกการเรียนรู้ ในเรื่องต่างๆ ที่สนใจในช่วงเวลานั้นๆ ข้อความที่ปรากฏใน blog นี้ เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้

ลำดับการได้รับ ประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น และ ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น

ประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น วันที่ 5 กันยายน 2565


ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น วันที่ 27 กันยายน 2565



ใบรับรองการสอบ พนักงานวิทยุสมัครเล่น อเมริกา วันที่ 11 มีนาคม 2566


ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นอเมริกา ระดับ Amateur Extra วันที่ 18 มีนาคม 2566

ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง วันที่ 27 มีนาคม 2566



ใบอนุญาตขั้นต้นครบ 1 ปี  มีสิทธิ์สอบขั้นกลาง ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2566  แต่กว่าจะเปิดสอบ ก็เข้าไปปลายๆ ปี 2567 รวมเวลา 2 ปี นิดๆ

ประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง  วันที่ 31 ตุลาคม 2567 สอบรับรหัสมอร์สได้ 50 คะแนน


บัตรใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง 25 พฤศจิกายน 2567


รออีก 2 ปี จึงจะมีโอกาสได้สอบ เพื่อรับ ประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง