สอบขั้นต้นให้ผ่าน ใน 7 วัน

จากเนื้อหาใน วิทยุสมัครเล่นขั้นต้น สอบไม่ยาก ได้แนะนำวิธีการฝึก เพื่อให้สอบขั้นต้นผ่าน โดยการฝึกเป็นรายวิชา วิชาที่ 5 4 2 รวม 200 ข้อ ถ้าจำได้ทั้งหมด จะสอบได้ 55 คะแนน ถ้าฝึกวิชาที่ 1 เพิ่มอีก 100 ข้อ และจำได้ทั้งหมด 300 ข้อ จะสอบได้ 80 คะแนน ผ่านได้อย่างสบายๆ 

ในความเป็นจริง จากการทดลอง ให้ทำ แบบฝึกหัดพนักงานวิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น ของ กสทช. เพียงครั้งแรก ก็ได้คะแนนเกือบจะผ่านแล้ว อย่างน้อยก็ต้องได้ 20 - 30 คะแนน ฝึกอีกนิดเดียวก็สอบผ่าน 60 คะแนน

เราจะนำ วัยรุ่น ม.3 หญิง และ นักบัญชีหญิง วัย 50 ซึ่งไม่มีความสนใจ เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น มาก่อน มาฝึก ท่องจำ และทำข้อสอบ ตามวิธีการที่ได้แนะนำไป ว่าจะสอบ และทำคะแนนได้ผ่าน ภายใน 7 วัน ได้หรือไม่

ข้อสังเกตุ ผู้ที่มาทดลองฝึก ไม่มีความประสงค์จะเข้าสอบขั้นต้น ฉะนั้นความตั้งใจ ความพยายาม และจำนวนครั้งในการฝึก จึงลดลงไป แต่วิธีการฝึก แสดงให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ ที่จะทำคะแนน ให้ผ่านได้ ใน 7 วัน ถ้ามีความมุ่งมั่น

เริ่มจาก ผลการฝึกของ วัยรุ่น ม.3 หญิง

12 ตุลาคม 2567
ลองทำข้อสอบ จากแบบฝึกหัดพนักงานวิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น ของ กสทช. โดยที่ไม่ได้อ่าน ข้อสอบกลาง หรือฝึกใดๆ มาก่อน ได้  59 คะแนน  


14 ตุลาคม 2567
เริ่มต้นอ่าน ข้อสอบกลาง  วิชาที่ 5 และ  ฝึกทำข้อสอบรายวิชา วิชาที่ 5  จำนวน 40 ข้อ ใช้วิธีจำ เนื้อหาของ คำถาม คำตอบ 

ผลการฝึกทำข้อสอบวิชา5 ครั้งที่ 1 ได้   40 คะแนน


17 ตุลาคม 2567
อ่าน ข้อสอบกลาง วิชาที่ 4 และ  ฝึกทำข้อสอบรายวิชา วิชาที่ 4 จำนวน 80 ข้อ ใช้วิธีจำ เนื้อหาของ คำถาม คำตอบ 

ผลการฝึกทำข้อสอบวิชา4 ครั้งที่ 1 ได้   76 คะแนน


ผลการฝึกทำข้อสอบวิชา4 ครั้งที่ 2 ได้   79 คะแนน


18 ตุลาคม 2567
อ่าน ข้อสอบกลาง วิชาที่ 2 และ  ฝึกทำข้อสอบรายวิชา วิชาที่ 2 จำนวน 80 ข้อ ใช้วิธีจำ เนื้อหาของ คำถาม คำตอบ 

ผลการฝึกทำข้อสอบวิชา2 ครั้งที่ 1 ได้   66 คะแนน


ผลการฝึกทำข้อสอบวิชา2 ครั้งที่ 2 ได้   78 คะแนน


เราฝึกทำข้อสอบ 3 วิชา จำนวน 200 ข้อ และจำได้เกือบทั้งหมด  เราจะทำข้อสอบ ของ กสทชได้ ไม่ต่ำกว่า 55 คะแนน

กลับไปลองทำข้อสอบ จากแบบฝึกหัดพนักงานวิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น ของ กสทช.  จำนวน 100 ข้อ  

20 ตุลาคม 2567
ทำข้อสอบ กสทช ได้ =  80  คะแนน



21 ตุลาคม 2567
ทำข้อสอบ กสทช ได้ =  81  คะแนน


22 ตุลาคม 2567
ทำข้อสอบ กสทช ได้ =  95  คะแนน


ผลที่ได้จากการทำข้อสอบ กสทช.ออกมาเป็นที่น่าพอใจ ถ้าคะแนนได้ระดับนี้ ทุกครั้งที่ฝึกทำข้อสอบ แต่เพื่อความมั่นใจ  ควรอ่าน ข้อสอบกลาง วิชาที่ 1 และ  ฝึกทำข้อสอบรายวิชา วิชาที่ 1  จำนวน 100 ข้อ เพิ่มเติม และฝึก วิชา 5 4 2 1 หลายๆ รอบ ให้ผ่านตา และจำได้ทุกข้อ เมื่อเข้าสอบจริง ไม่ว่าข้อสอบจะออก ข้อใดก็ตาม เราจะตอบได้อย่างมั่นใจ 

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

ถัดมา เป็นผลการฝึกของ นักบัญชีหญิง วัย 50

11 พฤศจิกายน 2567

ลองทำข้อสอบ จากแบบฝึกหัดพนักงานวิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น ของ กสทช. โดยที่ไม่ได้อ่าน ข้อสอบกลาง หรือฝึกใดๆ มาก่อน ได้  52  คะแนน  ใช้เวลาทำข้อสอบ  40 นาที

วิชา 1 ได้  15 คะแนน จาก 25 คะแนน (ข้อ 1-25)
วิชา 2 ได้  9 คะแนน จาก 20 คะแนน (ข้อ 26-45)
วิชา 3 ได้  6 คะแนน จาก 20 คะแนน (ข้อ 46-65)
วิชา 4 ได้  9 คะแนน จาก 20 คะแนน (ข้อ 66-85)
วิชา 5 ได้  13 คะแนน จาก 15 คะแนน (ข้อ 86-100)


12 พฤศจิกายน 2567

เริ่มต้นอ่าน ข้อสอบกลาง  วิชาที่ 5 และ  ฝึกทำข้อสอบรายวิชา วิชาที่ 5  จำนวน 40 ข้อ ใช้วิธีจำ เนื้อหาของ คำถาม คำตอบ 
ผลการฝึกทำข้อสอบวิชา5 ครั้งที่ 1 ได้   37 คะแนน


ผลการฝึกทำข้อสอบวิชา5 ครั้งที่ 2 ได้   37 คะแนน


13 พฤศจิกายน 2567

วิชาที่ 5 ได้คะแนนเต็มแล้ว อ่าน ข้อสอบกลาง วิชาที่ 4 และ  ฝึกทำข้อสอบรายวิชา วิชาที่ 4 จำนวน 80 ข้อ ใช้วิธีจำ เนื้อหาของ คำถาม คำตอบ 

ผู้มาทดลอง บอกว่ายากเกินกว่าจะเข้าใจ ขอบาย !!



CW in Your head

ช่วงแรกของการฝึกรหัสมอร์ส เราฝึกฟัง และจำเสียงของแต่ละตัวอักษร ในขั้น Advance เราจะฟังเป็นกลุ่มตัวอักษร หรือ ฟังเป็นคำๆ ที่มีความหมาย อาจจะเป็นคำย่อ ที่ใช้ในการสื่อสาร  เชื่อหรือไม่ว่า เราสามารถฟังคำว่า CQ ได้ทุกความเร็ว

ตัวอย่างคำที่ใช้ในการฝึกของ longisland cw club

<AR> <BT> <SK> 599 73 5NN ABT AGE AGN AM ANT B4 BEEN BK BUG C CALL CFM CLEAR CPI CPY CQ CU CUAGN CUL CW DE DIPOLE DN DR DX EL ES F FER FM FT GA GE GM GN GND GUD HAM HI HP HPE HR HW HW? INFO K OK OM OP OT PSE PWR QRM QRN QRP QRQ QRS QRT QRZ QSB QSL QSO QSY QTH R RAIN RETIRED RFI RIG RPRT RPT RR RST RX SIG SKED SOLID SRI SSB SUN T TEMP TKS TNX TU TX U UP UR VERT VY W WID WIND WPM WUD WX YAGI YRS 

ตัวอย่างคำที่ใช้ในการฝึกของ W6REC

QRL QRM QRN QRS QRT QRZ QSL QSO QSY QTH QRX ABT AGE ANT BEAM BK C CL CL? CPY CQ CUL DE DSW DX ES EL FB HI HW HR K LID LOOP NAME OM OP PKT PSE R RPT RST RIG SAN TEMP TEST TU TKS TNX VERT WATT WX YAGI YRS 73 88 ? / 

ตัวอย่างคำที่ใช้ในการฝึกของ K1IG

Two Letter Words
73 88 BK CL CQ DE DX EL ES FB HI HR IS MY OM OP TU UR VY WX YL

Three Letter Words
ABT AGE AGN ANT BTU CPY CLU GUD HW? PKT PSE PWR QRM QRN QRP QRQ QRS QRT QRX QRZ QSB QSL QSO QSY QTH RIG RPT RST TKS TNX XYL YRS

Four or More Letters
BEAM LONG LOOP NAME RUNS TEMP TEST VERT WATT WIRE YAGI DIPOLE

ตัวอย่างคำที่ใช้ในการฝึกของ CW Academy  นั้นเยอะมาก ดูได้ในส่วนของ Appendix 

ในเบื้องต้นเราจะเลือกคำที่ใช้บ่อยๆมาฝึกก่อน เช่น

CQ DE UR RST 599 5NN TNX FER RPRT ES QSO CUAGN 73 TU

จากนั้นเราก็หาวิธีสร้างเสียง ขึ้นมา ง่ายที่สุดก็  https://lcwo.net/text2cw  สร้างเสียงเป็น MP3 ไว้เปิดฟังได้ โดยเลือกความเร็วในการฝึกตามต้องการ

ในการฝึกฟังมอร์สเบื้องต้น เรามีเทคนิคที่ชื่อว่า Farnsworth  ให้มีช่องว่างระหว่างตัวอักษร นานหน่อย พอที่เราจะฟังและแปลความหมายได้  K1IG ได้แนะนำเทคนิคนี้ มาใช้ในการฝึกฟังเป็นคำๆ เรียกชื่อว่า Wordsworth ให้มีช่องว่างระหว่างคำ นานหน่อย พอที่เราจะฟังและแปลความหมายได้

ยกตัวอย่าง ที่ความเร็ว 25 wpm  CQ DE UR RST 599 5NN TNX FER RPRT ES QSO CUAGN 73 TU ช่องว่างระหว่างคำคือ เคาะ1 spacebar ถ้าเราไปสร้าง เสียงที่ได้ออกมาจะมีช่องว่างระหว่างคำน้อย 

แต่ถ้าระหว่างคำเราเคาะ 4 spacebar  CQ    DE    UR    RST    599    5NN    TNX    FER    RPRT    ES    QSO    CUAGN    73    TU เมื่อสร้างเสียงออกมาจะมีช่องว่างระหว่างคำ 1 วินาที

แต่ถ้าระหว่างคำเราเคาะ 10 spacebar CQ          DE          UR          RST          599          5NN          TNX          FER          RPRT          ES          QSO          CUAGN          73          TU  เมื่อสร้างเสียงออกมาจะมีช่องว่างระหว่างคำ 2 วินาที


ถ้าจำนวนคำมาก จะปรับ จำนวนเคาะ spacebar ด้วยวิธีง่ายๆ  โดยเปิดโปรแกรม notepad


จะเห็นว่า มีช่องว่าง เคาะ 1 spacebar ทุกอัน เราจะเปลี่ยนเป็น 4 spacebar คลิกที่  เมนู Edit <> Replace


ช่อง Find what: เคาะ 1 spacebar   ช่อง Replace with: เคาะ 4 spacebar  แล้วกดปุ่ม Replace All


ได้ผลออกมา  copy ไปสร้างเสียงต่อไป



เราสามารถสร้างเสียงมอร์สได้อีกวิธีโดยใช้โปรแกรม Fldigi  downloadได้ที่  http://www.w1hkj.com/files/fldigi/   เลือกไฟล์ fldigi-4.xxx_setup.exe  แล้วทำการติดตั้งลงบนคอมพิวเตอร์ windows


ระหว่างติดตั้ง ติก Flarq ออก แล้วติดตั้งต่อไป เสร็จแล้วเปิดโปรแกรมขึ้นมา จะมีหน้าต่างให้เรา กำหนดค่าก่อน แต่ไม่ต้องทำ ให้คลิก Finish ได้เลย


เลือก โหมด CW ก่อน    คลิก Op Mode <> CW


กำหนดค่าเสียง  เมนู Configure <> Config Dialog


คลิก Soundcard <> Devices ติก PortAudio  <> SAVE


ตั้งค่า  SideTone ของเสียงมอร์ส เลื่อนเม้าท์ ไปที่ช่องสีดำ ด้านล่าง จะมีลูกศรคู่สีเหลือง เลือกที่ 600 -700  แล้วตั้งความเร็วของรหัสมอร์ส เป็น 25 wpm


copy ตัวอักษร จากใน notepad  ไปวางในช่องสีฟ้า ของ Fldigi  โดยคลิกขวา แล้วเลือก paste


ลองฟังเสียง โดยคลิกขวา แล้วเลือก Transmit


ถ้าจะหยุด คลิกขวา เลือก Abort  แล้ว Clear

download ไฟล์ QSO_Words_5000.txt (K1IG)