สอบขั้นสูง ข้อสอบกลาง มี 4 วิชา จำนวน 408 ข้อ น้อยกว่าข้อสอบกลาง ขั้นต้น ที่มีจำนวน 500 ข้อ แต่เนื้อหา ในด้านเทคนิค สุดยอดมาก บางส่วนดัดแปลงมาจาก ข้อสอบ Extra Class ของการสอบ US Exam ในการสอบขั้นสูงนี้ จะต้องทำให้ได้มากกว่า 75 คะแนน
ในการสอบขั้นต้น ขั้นกลาง เราสามารถ เลี่ยงที่จะไม่อ่านวิชาด้านเทคนิค ก็สามารถสอบผ่าน 60 คะแนนได้ แต่ในชั้นสูงนี้ จำเป็นจะต้องอ่านทุกวิชา เพื่อให้ผ่าน 75 คะแนน
ขอแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรก จำนวน 135 ข้อ วิชา 1 2 4 นำไปออกข้อสอบ จำนวน 50 ข้อ 50 คะแนน ถ้าจะอ่านและฝึกให้เรียงลำดับตามนี้
วิชาที่ 2 การติดต่อสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่น จำนวน 50 ข้อ สุ่มออกข้อสอบ 25 ข้อ
วิชาที่ 4 หลักปฏิบัติของนักวิทยุสมัครเล่น จำนวน 45 ข้อ สุ่มออกข้อสอบ 15 ข้อ
วิชาที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ วิทยุสมัครเล่น จำนวน 40 ข้อ สุ่มออกข้อสอบ 10 ข้อ
ส่วนที่สอง จำนวน 273 ข้อ เป็นวิชาทางด้านเทคนิค และคำนวน นำไปออกข้อสอบ จำนวน 50 ข้อ 50 คะแนน
วิชาที่ 3 ทฤษฎีต่าง ๆ สําหรับนักวิทยุสมัครเล่น จำนวน 273 ข้อ สุ่มออกข้อสอบ 50 ข้อ
ข้อสอบกลางพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง2560 / แบบฝึกหัดพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง ของกสทช / แบบฝึกหัดอีกอัน ใน onestop service
ข้อสอบกลางวิชา 2413 ที่ปรับรูปแบบให้อ่านง่ายๆ แล้ว รูปแบบdocx รูปแบบpdf
21 มิถุนายน 2567
ครั้งแรกที่ทดลองทำข้อสอบกลาง ของ กสทช แบบไม่ได้อ่านหรือเตรียมการใดๆ มาก่อน ใช้ความรู้เดิมที่มี ได้ 54 คะแนน
22 มิถุนายน 2567
วันต่อมา ฝึกโดยอ่านข้อสอบกลาง วิชา 2 4 1 พร้อมๆ ไปกับ ฝึกทำข้อสอบกลาง แยกเป็นรายวิชา แล้วใช้ excel ช่วยในการเก็บสถิติ วิชา 2 4 1 ไม่ได้ยากเกินไปที่จะจดจำได้ ถ้าเราจำได้ทุกข้อ (153 ข้อ) เราจะได้คะแนนส่วนนี้ 50 คะแนน
ผลสอบ จากการฝึกวันแรก ได้ 83 คะแนน
ถ้าเราฝึกในวิชาที่ 3 ด้วย คะแนนจะดีกว่านี้ มาก แต่เนื่องจากจำนวนข้อสอบ 273 ข้อ ต้องใช้หน่วยความจำขนาดใหญ่ในสมอง ก็ต้องใช้เวลาบ้าง
ผมสังเกตุ ระหว่าง ฝึกทำข้อสอบกลาง แยกเป็นรายวิชา เราจะตอบได้ โดยที่ไม่ต้องดูคำถาม
ในการสอบจริงๆ เราสามารถ เลือกทำข้อสอบวิชา 1 2 4 ก่อนได้ เพื่อเก็บ 50 คะแนน แล้ววิชา 3 ก็ทำในเวลาที่เหลือ ค่อยๆ ปลดปล่อยความจำออกมา
23 มิถุนายน 2567
วิชาที่ 3 มันเยอะมาก 273 ข้อ ถึงแม้ แบบฝึกหัดข้อสอบกลาง แยกเป็นรายวิชา จะแยกออกมาเป็น 3 ส่วน 100+100+73 ก็ยังเยอะอยู่ดี ที่จะทำรวดเดียว 100 ข้อ
แก้ปัญหาโดยให้แบ่ง การอ่านและฝึก ออกเป็นครั้งละ 25 ข้อ ทำแบบฝึกหัดข้อสอบกลาง แยกเป็นรายวิชา วิชา 3 ส่วน 1 ในทุกครั้งที่เราคลิกตอบคำถาม ข้อ 1 - 25 จะต้องขั้นเป็นสีเขียว นั่นคือข้อนี้ ตอบได้ถูกต้อง เมื่อครบ 25 ข้อ ก็ปิดหน้านั้น แล้วเข้ามาใหม่ ฝึกให้ตอบได้เขียวทุกข้อ
จากนั้นเริ่มอ่าน 25 ข้อถัดไป ข้อ 26-50 ทำแบบฝึกหัดข้อสอบกลาง แยกเป็นรายวิชา วิชา 3 ส่วน 1 โดยเริ่มตั้งแต่ข้อ 1 - 50 ก็คือเพิ่มเข้าไปครั้งละ 25 ข้อ ทำจนครบ 100 ข้อ ของวิชา 3 ส่วน 1
จากนั้นก็ไปเริ่ม วิชา 3 ส่วน 2 และ 3
รูปข้างล่าง คลิกตอบ ข้อ ง. ซึ่งผิด จะแสดงเป็นสีแดง จะมีเฉลยให้ด้วย ข้อ ก. เป็นสีเขียว
26 มิถุนายน 2567
พยายามที่จะเริ่มฝึก จากข้อที่ 1 ใน แบบฝึกหัดข้อสอบกลาง แยกเป็นรายวิชา วิชา 3 ส่วน 1 ปรากฏว่า จำคำตอบ ไม่ได้ เนื่องจากในช่วงแรกๆ ถึงข้อ 70 มีตัวเลขให้จำ อย่างมาก แต่ถัดจากนั้น ข้อ 71 - 273 เป็นคำตอบที่เป็นข้อความทั่วไป มีตัวเลขนิดหน่อย งั้น เราไปเริ่มที่ แบบฝึกหัดข้อสอบกลาง แยกเป็นรายวิชา วิชา 3 ส่วน 2 ข้อที่ 101 ก่อนเลย
27 มิถุนายน 2567
พอได้อ่านและฝึก วิชาที่ 3 ข้อที่ 101-273 คะแนนดีขึ้นทันใด
แยกวิชาที่ 3 ส่วนที่ 1 ออกเป็น สองส่วน ให้ง่ายต่อการฝึก
ข้อสอบส่วนที่ง่ายพอจะจดจำได้ ข้อ 1-9,39-44,53-62,71-100 รวม 55 ข้อ
ข้อสอบส่วนที่ยากต้องจำตัวเลข ข้อ 10-38,45-52,63-70 รวม 45 ข้อ
29 มิถุนายน 2567
ฝึกทำข้อสอบจำนวน 363 ข้อ โดยตัด ข้อสอบวิชาที่ 3 ออกไป 45 ข้อ เนื่องจากเป็นการคำนวน ตัวเลข จดจำได้ยาก ผลการฝึกออกมาตามรูปด้านล่าง ถ้าไม่อ่าน 45 ข้อที่ยาก แล้วคะแนนจากแบบฝึกหัดของ กสทช ได้ประมาณ 90 คะแนน ทุกๆ ครั้ง ก็พอใจแล้ว
สังเกตุ วิชาที่ 3 ส่วนที่ 2 และ 3 คะแนนออกมา ข้อที่ผิด ในการฝึกแต่ละรอบ เท่าๆ กัน อาจจะผิดข้อเดิมๆ การฝึกรอบถัดไป จะถ่ายรูป ข้อที่ผิดไว้ด้วย เพื่อการจดจำคำตอบที่ถูกต้อง
ถ้าทำรายวิชา ได้เต็มเกือบทุกครั้ง จะกลับไปฝึก 45 ข้อที่เหลือ
3 กรกฏาคม 2567
13 กรกฏาคม 2567
ผลการฝึก ผ่านไป 10 วัน
31 กรกฏาคม 2567
ฝึกทำข้อสอบ ของ กสทช ทุกวัน ได้คะแนน ใกล้เคียงกัน ไม่ต่ำกว่า 90 คะแนน แค่นี้ก็ผ่านแล้วครับ ฝึกกันต่อไป ทั้งของกสทช และ แบบแยกรายวิชา จนกว่าจะถึงวันสอบ ในอีก 1 เดือน ข้างหน้า
ตอนนี้ รอลุ้น หลังจาก 7 ส.ค. ปิดรับสมัครไปแล้ว ชื่อเราจะคงอยู่หรือไม่
09 สิงหาคม 2567
ติดปัญหา คนในบ้าน ติดโควิด เลยไม่ได้ฝึกเต็มที่
19 สิงหาคม 2567
ไปเที่ยว 4 วัน กลับมาก็ยังไม่ลืม ทำคะแนนได้ พอใจ มีเวลาฝึกอีก 3 สัปดาห์ ปิดรับสมัครแล้ว รอลุ้น ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ
22 สิงหาคม 2567
การฝึกทำข้อสอบ ทำให้รู้ถึงปัญหา ในการฝึก ข้อสอบทางเทคนิค ส่วนที่ 3 ได้แยกข้อที่ยากออกมา จากข้อที่ง่าย หวังว่าจะมีประโยชน์ สำหรับผู้ที่จะสอบใน ครั้งถัดๆไป