ใบอนุญาตให้ ใช้ และ ตั้งสถานี วิทยุคมนาคม

ทำให้ถูกกฏระเบียบ เราจะใช้วิทยุคมนาคม ได้อย่างสบายใจ วิทยุเครื่องแรกผมเป็น ICOM IC-2300H-T ซื้อมือสองมา ราคา 60 % จากของใหม่ ยังอยู่ในประกัน 1 ปี ผู้ขาย มอบเอกสารมาให้แบบครบๆ  ใบอนุญาตให้ใช้ เครื่องวิทยุคมนาคม , บัตรใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น , บัตรประจำตัวประชาชน , ทะเบียนบ้าน

รอบนี้ ไม่ได้ยื่น Online (ถ้ายื่น online ต้องส่งอีเมล์ ไปยังสำนักงานภาค ของ กสทช.) แต่ไปยื่นเอกสารโดยตรงที่สำนักงาน กสทช.เขต  นอกจากเอกสารที่ผู้ขายให้เรามาแล้ว ต้องเตรียมเอกสารเพิ่ม คือ  คท.2  คำขออนุญาตใช้ และคำขออนุญาตตั้งสถานี  คท.24 หนังสือรับรองกรรมสิทธิ์  เอกสารที่เกี่ยวกับตัวเรา บัตรใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น , บัตรประจำตัวประชาชน , ทะเบียนบ้าน ที่เราจะตั้งสถานี , รูปถ่ายเครื่อง ด้านหน้า หลัง และ SerialNumber


การขอใบอนุญาตครั้งนี้ เป็นครั้งแรก เป็นการหาคำตอบใหักับตัวเอง เครื่อง Mobile VHF กำลังส่ง 60 w ราคามือสองสมเหตุสมผล จะสามารถใช้สิทธิ์ในการเป็น พนักงานวิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง ขอใบอนุญาตให้ตั้งสถานีได้กี่วัตต์  ได้เต็มที่ 200 watt 

เตรียมเอกสารให้พร้อม สำเนาเอกสาร ผมไม่ได้ลงชื่อรับรองสำเนา
download แบบฟอร์ม https://www.nbtc.go.th/Business/commu/radio/licensing/แบบฟอร์มคำขอ.aspx  คท.2 อยู่หน้า 2  คท.24 อยู่หน้า 1

กรอกแบบฟอร์ม คท.2 กรอกในส่วนที่เกี่ยวข้อง เท่าที่ทราบข้อมูล

ขอใช้ เครื่อง และตั้งสถานี

ขอครั้งแรก และ ระบุสัญญาณเรียกขานด้วย


กรณีซื้อมือสองมา กรอกเลขที่ใบอนุญาตให้ใช้เดิมด้วย


ขอตั้งสถานี ระบุกำลังส่ง ระบุสถานที่ตั้ง ถ้าเป็นบ้านพักอาศัย ที่เราเป็นเจ้าบ้าน แบบนี้ง่าย ถ้าไม่ใช่ก็ต้องมีเอกสารประกอบอื่นอีก


ลงนามผู้ยื่นคำขอ  ถ้ากรณีโอนเครื่อง ต้องให้คนที่ขายเครื่องให้เรา ลงนามด้วย (หาวิธีเอาเองถ้าซื้อผ่าน online คงไม่ต้องบอกนะครับ)

กรอกแบบฟอร์ม คท.24


 


ระบุชื่อผู้โอน เลขใบอนุญาตให้ใช้เดิม ถ้ามีสัญญาซื้อขาย หรือใบเสร็จ ก็จะดี แต่คงไม่มีหรอก บอกเจ้าหน้าที่ไปตรงๆ  บางคนบอกว่า ใช้ แชท ที่คุยตอนซื้อขายก็ได้ ต้องลองดูครับ 

บอกเจ้าหน้าที่ด้วยว่า เราขอตั้งสถานี กำลังส่งกี่วัตต์ จะได้เข้าใจตรงกัน เอกสารที่ออกมาไม่ผิดผลาด

เอกสารเรียบร้อย จ่ายค่าธรรมเนียม ใบเสร็จรับเงินจะออกด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ ต้องไป download เอาเอง โดยข้อมูลจะส่งไปทาง SMS


เจ้าหน้าที่ จะสอบถามว่า ใบอนุญาต จะรับแบบไหน พิมพ์เป็นกระดาษ A4 หรือว่า ส่งเป็นไฟล์ไปในอีเมล์  รับเป็นไฟล์ง่ายกว่า ก็แจ้งอีเมล์สำหรับรับไฟล์ จากนั้น กลับได้ไม่ต้องรอ

รอไม่ถึง 24 ชม มีอีเมล์มาจากสำนักงาน กสทช เขต ส่งไฟล์ใบอนุญาตให้ ใช้ และ ตั้งสถานี วิทยุคมนาคม



ค่าธรรมเนียมวิทยุคมนาคม กสทช 


โปรแกรมคำนวณองศา สายอากาศทิศทาง

โปรแกรมนี้เป็นผลงานของท่าน E25VBE จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้ นักวิทยุสมัครเล่น หันทิศทาง ของสายอากาศทิศทาง ได้ตรงเป้าหมาย ในระดับตำบล

ชื่อเต็มๆ คือ โปรแกรมคำนวณองศาสายอากาศทิศทางระหว่างสถานีวิทยุสมัครเล่น สามารถอ่านรายละเอียดและที่มาที่ไป ประวัติการพัฒนา ได้


 Download โปรแกรม ที่ https://github.com/jojopat/DADA1 โปรแกรมทำงานบน windows 10

สร้าง folder ใหม่ เช่น C:\DAda

Download file OpenGovernmentLatLongTambon.csv  และ DADA1.exe Windows 10 binary.7z ไฟล์หลังต้อง unzip ก่อนใช้งาน

คลิกที่ไฟล์ จะพาไปหน้า download


คลิกไอคอน ด้านขวามือ แล้ว save file ไว้ที่ c:\DAda


unzip DADA1xxxx.7z จะได้ไฟล์ DADA1.exe  จากนั้น ดับเบิ้ลคลิก DADA1 เปิดโปรแกรมขึ้นมา


โปรแกรมยังไม่มีข้อมูล QTH ของเรา


ป้อนชื่อตำบล ที่เราอยู่ เมื่อขึ้นข้อมูลแล้ว ให้กดปุ่ม F8 เพื่อบันทึก QTH ของเราไว้ในโปรแกรม ถ้าจะพิมพ์ ตำบล อำเภอ จังหวัด แบบเต็มๆ ให้สังเกตุ หลัง ต. จะมีเว้นวรรค แล้วจึงจะเป็นชื่อ


โปรแกรมบันทึก ตำบล ที่อยู่ของเราไว้แล้ว สังเกตุจะมี พิกัด Lat,Long มาให้ด้วย


ต่อไป ระบุพิกัด ของคู่สนทนา ของเรา มีข้อมูลแจ้งให้ทราบว่า ต้องหันสายอากาศ จากจุดเริ่มต้น ทิศเหนือ ตามเข็มนาฬิกา ไป 24 องศา  ระยะทางอากาศ 143 กม


ลองเปลี่ยนสถานที่ดูบ้าง ถ้าเป็น อ. เมือง  จะต้องป้อน อ. เมืองตามด้วยจังหวัด

ล่าสุด พัฒนาให้ใช้งานบนเว็บได้  คำนวณระยะทางและองศาสำหรับสถานีนักวิทยุสมัครเล่น  




ICOM IC-2300H-T

ICOM IC-2300H-T ติดตั้งประจำที่ และ เคลื่อนที่ 144-147 MHz กว่าจะซื้อเครื่องนี้ ใช้เวลาพิจารณานานมาก ข้อดี ข้อเสีย ของเครื่อง Mobile เทียบกับเครื่องมือถือ สุดท้ายก็ได้ข้อสรุปว่า อยากได้เครื่อง Mobile มาติดตั้งประจำที่ มีใบอนุญาตให้ตั้งสถานี อีกประการหนึ่ง อยากรู้ว่า พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง จะสามารถขอใบอนุญาตตั้งสถานีได้กีวัตต์ เมื่อได้ใบอนุญาตตั้งสถานีแล้ว ก็จะได้ทดลองสายอากาศย่าน HF และ VHF

FEATURES
#65 W* — high transmit output power (*except Korea/Taiwan versions)
#Tone squelch, DTCS squelch standard
#Three color (amber, yellow & green) back-light LCD screen
#Remote control microphone available

คู่มือภาษาไทยแบบย่อ   คู่มือภาษาอังกฤษ  ServiceManual  Brochures  คู่มือไทย IC-2200

ALL RESET เครื่อง  ปิดเครื่อง กดปุ่ม SET และ S.MW ค้างไว้ แล้ว เปิดเครื่อง

Partial RESET
If you want to reset the VFO frequency, VFO settings and Set mode items to their default values,without clearing the memory contents, you can do a partial reset of the transceiver's CPU ปิดเครื่อง กดปุ่ม V/MHz ค้างไว้ แล้ว เปิดเครื่อง

การตั้ง Tuning step  12.5KHz
กดปุ่ม SET แล้ว กดปุ่ม SET หรือ MONI หาเมนู TS แล้วหมุน DIAL ไปที่ 12.5 แล้วกดปุ่มใดก็ได้ เพื่อออกจากเมนู

ตั้งความถี่ Mode VFO
ออกจาก Mode Memory กดปุ่ม V/MHz   กดปุ่ม V/MHz อีกครั้ง หมุน DIAL เลือกความถี่ 3 ตัวหน้าจุดทศนิยม กดปุ่ม V/MHz อีกครั้ง หมุน DIAL เลือกความถี่หลังจุดทศนิยม

ตั้งความถี่โดยกดที่ ไมค์
ออกจาก Mode Memory กดปุ่ม VFO/LOCK  กดปุ่ม ENT C ที่ไมค์ แล้วกดตัวเลขความถี่

ตั้งความถี่ ช่อง Memory ผ่านหน้าเครื่อง
ออกจาก Mode Memory กดปุ่ม V/MHz ไป Mode VFO
เลือกความถี่ ที่ต้องการ กดปุ่ม V/MHz หมุน DIAL เลือกความถี่ 3 ตัวหน้าจุดทศนิยม กดปุ่ม V/MHz อีกครั้ง หมุน DIAL เลือกความถี่หลังจุดทศนิยม
กดปุ่ม S.MW หมุน DIAL เลือกเลขช่องที่ต้องการ กดปุ่ม S.MW ค้าง 1 วินาที จนได้ยินเสียง 2 บิ๊บ

ตั้งความถี่ ช่อง Memory ผ่านหน้าไมค์
ออกจาก Mode Memory กดปุ่ม VFO/LOCK  กดปุ่ม ENT C ที่ไมค์ แล้วกดตัวเลขความถี่
กดปุ่ม FUNC ไฟส้มที่ไมค์จะติด กดปุ่ม MW (CLR A) หมายเลข Memory ที่จอ จะกระพริบ
กดลูกศรขึ้นลง เพื่อเลือกช่อง
กดปุ่ม FUNC ไฟส้มที่ไมค์จะติด กดปุ่ม MW (CLR A) ค้างไว้ 1 วินาที จนได้ยินเสียง 2 บิ๊บ

ลบช่องใน  Memory
กดปุ่ม M/CALL เข้าMode Memory หมุน DIAL ดูว่าจะลบช่องใด
กดปุ่ม S.MW เลือกช่องที่ต้องการลบ โดยการหมุน DIAL
กดปุ่ม S.MW  2 คร้่ง ครั้งที่ 2 กดแช่ จนได้ยินเสียง 2 บิ๊บ
แล้วกดปุ่มใดก็ได้ เพื่อออกจากเมนู

ตั้งค่า ช่องรีพีทเตอร์
ตั้งความถี่ ที่เป็นช่องรีพีทเตอร์ (ความถี่รับ)
กดปุ่ม SET ไปจนเจอ +- 600 ถ้าเป็น 600 ไม่ต้องทำอะไร แล้วกดปุ่มใดก็ได้ เพื่อออกจากเมนู
กดปุ่ม SET ไปจนเจอสัญลักษณ์ ดนตรี และด้านขวาจอ ขึ้นอักษร rt เลือกค่าความถี่ TONE โดยการหมุน DIAL เมื่อได้ค่าที่ต้องการแล้ว กดปุ่มใดก็ได้ เพื่อออกจากเมนู
กดปุ่ม LOW(DUP) ค้างไว้ จนมีเครื่องหมาย - ขึ้นที่หน้าจอ
กดปุ่ม TONE ให้มีสัญลักษณ์ ดนตรี ขึ้นที่หน้าจอ
กดปุ่ม S.MW หมุน DIAL เลือกเลขช่องที่ต้องการ กดปุ่ม S.MW ค้าง 1 วินาที จนได้ยินเสียง 2 บิ๊บ

mode DUPLEX และ TONE จะค้างอยู่ ให้ทำ 2 ขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อกลับไป mode SIMPLEX
กดปุ่ม LOW(DUP) ค้างไว้ 2 รอบ ให้เครื่องหมาย - บนหน้าจอหายไป
กดปุ่ม TONE 8 รอบ ให้สัญลักษณ์ ดนตรี และอื่นๆ หายไป

ตั้งความสว่างหน้าจอ เปลี่ยนสีหน้าจอ ความเข้มตัวหนังสือ
กดปุ่ม SET ไปจนเจอ DIM หมุน DIAL ปรับความสว่าง น้อย=1 มาก=4
กดปุ่ม SET ไปจนเจอ COL หมุน DIAL ปรับสีหน้าจอ AM=ส้ม YE=เหลือง GR=เขียว
กดปุ่ม SET ไปจนเจอ CON หมุน DIAL ปรับความเข้มตัวหนังสือ น้อย=1 มาก=4
แล้วกดปุ่มใดก็ได้ เพื่อออกจากเมนู

ตั้งค่าลดความสว่างไฟหน้าจออัตโนมัติ
กดปุ่ม SET ไปจนเจอ ATD--OF  หมุน DIAL ATD--OF=จอติดตลอด  
AT--OF จอดับ แต่ยังเห็นตัวหนังสือ
ใช้ในกรณี ตั้ง DIM =4   AT--D1=สว่างน้อย D3=สว่างมาก

SCAN
VFO Scan ทั้งย่าน กดปุ่ม V/MHz ออกจาก Mode Memory ตัวอักษร M บนจอจะหายไป กด V/MH(SCAN) ค้างไว้ จะเริ่ม Scan
Memory Scan กดปุ่ม M/CALL เข้า Mode Memory ตัวอักษร M ปรากฏบนจอ กด V/MH(SCAN) ค้างไว้ จะเริ่ม Scan
ไม่ Scan Memory บางช่อง  เลือกช่องที่ต้องการข้าม กดปุ่ม SET ไปจนเจอ CHS--OF ให้เปลียนเป็น CHS--ON ใตัอักษร M จะมี SKIP ขึ้นมา เป็นการข้ามช่องนั้นๆ แล้วกดปุ่มใดก็ได้ เพื่อออกจากเมนู

ตั้งชื่อเป็นตัวอักษร ในช่อง Memory
กดปุ่ม M/CALL เข้าMode Memory หมุน DIAL เลือกช่องที่จะตั้งชื่อ
กดปุ่ม MONI/ANM ค้าง 1 วินาที เพื่อเข้าโหมดตั้งชื่อ
กดปุ่ม SET หมุน DIAL เลือก ตัวอักษร ตัวเลข เมื่อได้แล้ว กดปุม MONI เลือกตัวอักษรถัดไป เมื่อตั้งได้ครบแล้ว กดปุ่มใดก็ได้ เพื่อออกจากเมนู
กดปุ่ม MONI/ANM ค้าง 1 วินาที เพื่อสลับ แสดงความถี่ และชื่อ 

Memory bank ก็คือการแบ่งช่อง Memory 200 ช่อง ออกเป็นกลุ่มๆ ตามลักษณะการใช้งาน Memory bank มี 10 กลุ่ม (A-J) สามารถตั้งชื่อกลุ่มได้  เวลาเข้าไปใน Memory bank กลุ่มใด ก็จะ scan หรือ หมุนเลือกความถี่ได้เฉพาะในกลุ่ม 

การใช้งาน Memory bank เข้าโหมด Memory Scan กดปุ่ม M/CALL เข้า Mode Memory ตัวอักษร M ปรากฏบนจอ กดปุ่ม BANK (อยู่ใต้ลูกบิด) หมุนเลือกชื่อ Bank ที่เราตั้งไว้  แล้วกดปุ่ม BANK อีกครั้ง จากนั้นทำการ Scan ได้  การออกจาก Bank  กดปุ่ม BANK แล้วหมุนเลือก ให้ขึ้นตัวเลขความถี่ แล้วกดปุ่ม BANK อีกครั้ง

Program Scan Edges   Scan edges เป็นคู่ความถี่ที่กำหนดขึ้นมาในการสแกนแบบ Programmed scan สามารถโปรแกรมไว้ได้ 3 ช่อง คือ 1A/1b ถึง3A/3b  ยกตัวอย่าง ความถี่ 144-147 เราจะแบ่งการ Scan เป็น 3 ช่วง  ก็โปรแกรมช่อง 1A =144.000 , 1B=145.000 , 2A=145.000 , 2B=146.000 , 3A=146.000 , 3B=147.000

วิธีการใช้ Scan edges  เข้าโหมด VFO Scan  กดปุ่ม V/MHz ออกจาก Mode Memory ตัวอักษร M บนจอจะหายไป กด V/MH(SCAN) ค้างไว้ จะเริ่ม Scan  จากนั้น กดปุ่ม SET แต่ละครั้ง จะมีให้เลือก ALL , PROG1 , PROG2 , PROG3  /  PROG1 หมายถึง VFO Scan ความถี่ของช่อง 1A ถึง ความถี่ของช่อง 1B  ออกจาก Scan edges  กดปุ่ม SET เลือก ALL

การตั้ง Memory Channel , Memory Bank , Scan Edges  กำหนดค่าใน โปรแกรม CS-2300H-T ที่ ICOM แจกให้ใช้งานฟรี ง่ายกว่า 

มีทุกฟังก์ชั่น ปิดเครื่อง กดปุ่ม MONI และ LOW ค้างไว้ แล้ว เปิดเครื่อง

ความถีรีพีทเตอร์  ความถี่ใช้งานแต่ละจังหวัด  ความถี่กิจกรรมถวายพระพรชัยมงคล HS72KING ข้อมูลจากศูนย์สายลม HS0AB