วิธีการสร้างแบบฝึกหัด วิทยุสมัครเล่น รายวิชา

    ในระหว่างการเตรียมตัวสอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น ได้รับคำแนะนำว่า ให้เลือกฝึก ทำคะแนนเต็มเป็นบางวิชา เช่นวิชาที่ 5 จำนวน 60 ข้อ จะถูกสุ่มเลือก นำมาออกข้อสอบถึง 25 เปอร์เซนต์ ก็คือ 15 ข้อ เราจะได้เปรียบ อ่านและจำข้อสอบน้อย แต่ได้คะแนนเยอะ ในระหว่างนั้น ไม่มีเว็บไหน ในไทย ที่จะมีให้เลือกฝึกเป็นบางวิชา  เราจึงได้จัดทำ แบบฝึกหัด รายวิชาขึ้นมา เพื่อช่วยให้การสอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น ทุกคน สามารถทำคะแนนได้ดีขึ้น


 

    เริ่มแรกต้องไปเอาข้อสอบกลาง มาก่อน กสทช. ให้ไฟล์มาในรูปแบบ PDF  ก็ต้องนำมาแปลงเป็น รูปแบบ txt  ผมใช้โปรแกรม Foxit reader เปิด ไฟล์pdf จากนั้น เลือกข้อความที่จะแปลง  copy  and paste ลงในโปรแกรม text document จัดระเบียบให้สวยงาม เว้นวรรค ขึ้นบันทัดใหม่  ก็ใช้เวลาทำ 3-5 วัน  ถ้าเป็นไปได้ กสทช ช่วยเผยแพร่ ข้อสอบกลางในรูปแบบ text document หรือ word document จะดีมากๆ
 

การสร้างแบบฝึกหัดนี้  สร้างเป็น google app script บน googledrive  วิธีการดูตาม youtube ต่อไปนี้
ต้นฉบับ Quiz App
Source code
https://drive.google.com/file/d/1w9Eq2FqXZ2E6HWOQmsaZjq6_sqoIg6jx/view?usp=sharing
https://www.youtube.com/watch?v=zAQtfbFv_dw
 

คูรอภิวัฒน์ สอนสร้างสื่อ นำมาปรับแก้
https://www.youtube.com/watch?v=a02W8D-5tBA
 

ขั้นตอน วิธีสร้าง web app script บน googledrive  
https://www.youtube.com/watch?v=GrINIOUnpY4
 

ปรับแก้ไข รูปแบบกัน ตามต้องการ  ส่วนสำคัญที่ทำนานมาก คือ คำถาม คำตอบ ครับ ต้อง copy  and paste ที่ละคำถาม ที่ละบันทัด 



QQQ = คำถาม

AAA = คำตอบที่ 1 หรือคำตอบข้อ ก.

DDD = คำตอบที่ 4 หรือคำตอบข้อ ง.

Answer-number = 1 หมายถึง คำตอบที่ 1 ถูก,     4 หมายถึง คำตอบที่ 4 ถูก






แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง วิชาที่ 4

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง  จากข้อสอบกลาง ปี 2561

หน้ารวม แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง

วิชาที่ 4 หลักปฏิบัติของนัก วิทยุสมัครเล่น

จำนวน 45 ข้อ

# หลักปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับสายอากาศในย่านความถี่ HF ซึ่งมีแรงดันไฟฟ้าในบางจุดสูงจนก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ อันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความเข้มสูง และความถี่สูง จะก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของร่างกายได้ และหลักปฏิบัติเพื่อลดหรือป้องกันอันตรายดังกล่าว

# เครื่องมือทดสอบ ทั้งชนิด Digital และ Analog การใช้งาน Spectrum และ Network Analyzer เครื่องมือวิเคราะห์สายอากาศ (Antenna Analyzer) ความเข้าใจเกี่ยวกับ Oscilloscope การทดสอบทรานซิสเตอร์ การวัดค่า RF

#ความเข้าใจเรื่องคุณสมบัติของเครื่องรับ ได้แก่ Phase noise, Capture Effect,Noise Floor, Image Rejection, MDS, Signal-to-Noise Ration, Selectivity,Blocking dynamic Range, Intermodulation และ Cross-modulation, 3rdorder intercept, Desensitaztion และ Preselection

# การลดสัญญาณรบกวน (Noise) ได้แก่ System Noise, การรบกวนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน, Line noise, การค้นหาตําแหน่งของสัญญาณรบกวน, การใช้งาน DSP,Noise Blanker

 

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง วิชาที่ 3 ส่วนที่ 1

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง  จากข้อสอบกลาง ปี 2561

หน้ารวม แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง

Download รูปภาพ ประกอบคำถาม

วิชาที่ 3 ส่วนที่ 1 ทฤษฎีต่าง ๆ สําหรับ นัก วิทยุสมัครเล่น ข้อ 1-100

จำนวน 273 ข้อ

# ทฤษฏีไฟฟ้า

# ส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

# สายอากาศและสายนําสัญญาณ

# การแพร่กระจายคลื่น

แบบฝึกหัดข้อที่ 1 - 100


หลังจากได้ลองทำแบบฝึกหัด พบปัญหาระหว่างการฝึก จะมีข้อที่จำได้ไม่ยาก และข้อที่จำยากมาก จึงแยกออกเป็น สองแบบ

ข้อสอบส่วนที่ง่ายพอจะจดจำได้ ข้อ 1-9,39-44,53-62,71-100 รวม 55 ข้อ


ข้อสอบส่วนที่ยากต้องจำตัวเลข ข้อ 10-38,45-52,63-70 รวม 45 ข้อ


แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง วิชาที่ 3 ส่วนที่ 3

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง  จากข้อสอบกลาง ปี 2561

หน้ารวม แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง

Download รูปภาพ ประกอบคำถาม

วิชาที่ 3 ส่วนที่ 3 ทฤษฎีต่าง ๆ สําหรับ นัก วิทยุสมัครเล่น ข้อ 201-273

จำนวน 273 ข้อ

# ทฤษฏีไฟฟ้า

# ส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

# สายอากาศและสายนําสัญญาณ

# การแพร่กระจายคลื่น

 

 

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง วิชาที่ 3 ส่วนที่ 2

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง  จากข้อสอบกลาง ปี 2561

หน้ารวม แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง

Download รูปภาพ ประกอบคำถาม

วิชาที่ 3 ส่วนที่ 2 ทฤษฎีต่าง ๆ สําหรับ นัก วิทยุสมัครเล่น ข้อ 101-200

จำนวน 273 ข้อ

# ทฤษฏีไฟฟ้า

# ส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

# สายอากาศและสายนําสัญญาณ

# การแพร่กระจายคลื่น

 

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง วิชาที่ 2

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง  จากข้อสอบกลาง ปี 2561

หน้ารวม แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง

วิชาที่ 2 การติดต่อสื่อสารของนัก วิทยุสมัครเล่น

จำนวน 50 ข้อ

# กิจการวิทยุสมัครเล่นกับอวกาศ กิจการวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียม วงโคจรของดาวเทียม ความถี่และ Mode ต่าง ๆ ของดาวเทียมในกิจการวิทยุสมัครเล่น Hardware ของดาวเทียม และวิธีการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมสมัครเล่น

# การติดต่อด้วย Mode ต่างๆ การแข่งขัน (Contest) และการ DX การเลือกความถี่ในการใช้งาน

# การติดต่อด้วย VHF และ UHF ใน Digital Mode เช่น APRS

# การติดต่อด้วย HF Digital Mode ความเข้าใจเรื่อง error correction

 

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง วิชาที่ 1

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง  จากข้อสอบกลาง ปี 2561

หน้ารวม แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง

วิชาที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ วิทยุสมัครเล่น

จำนวน 40 ข้อ

# สิทธิที่ได้รับอนุญาตของพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง ย่านความถี่ที่ได้รับอนุญาต ลักษณะหรือประเภทของการส่ง (CLASS OF EMISSION) และขนาดกําลังส่ง การใช้งานความถี่ร่วมกันกิจการอื่น (Frequency Sharing) ความเข้าใจเรื่องกิจการหลัก กิจการรอง

# ลักษณะการใช้งานสถานีที่ได้รับอนุญาตและบุคคลที่สามารถใช้สถานีได้ รวมทั้งเงื่อนไขและข้อห้ามต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

# ความรู้เกี่ยวกับข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่น

# ความเข้าใจเรื่องหลักข้อตกลงต่างตอบแทนเกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่น และความเข้าใจเกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศ The International Amateur Radio Permit (IARP) และ The Conference of European Postal and Telecommunications Administrations (CEPT)

# การใช้งานอุปกรณ์เพิ่มกําลังส่งภายนอก (External RF Power Amplifier)
 

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง วิชาที่ 5

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง แยกเป็นรายวิชา จากข้อสอบกลาง ปี 2561

หน้ารวม แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง

วิชาที่ 5 ความรู้เกี่ยวกับ รหัสมอร์ส

จำนวน 30 ข้อ   รหัสมอร์สไม่ชัดเจน กดดูคำถาม ตอบ ประกอบกัน

 

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง วิชาที่ 4

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง แยกเป็นรายวิชา จากข้อสอบกลาง ปี 2561

หน้ารวม แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง

วิชาที่ 4 หลักปฏิบัติของนัก วิทยุสมัครเล่น

จำนวน 134 ข้อ

# หลักปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับสายอากาศในย่านความถี่ HF

# หลักปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องส่งวิทยุที่มีกําลังส่งสูง

# วัตถุประสงค์ของสัญญาณทดสอบสองโทน (Two-Tone Test) ในด้านการตรวจสอบ Linearity ของภาค RF Power Amplifier

# หน้าที่ของอุปกรณ์ประกอบต่อไปนี้ RF Linear Power Amplifier, Key,Electronic Key

# ประโยชน์ของ Line Filter, TVI Filter ในแง่ของการป้องกันการรบกวนจากคลื่นวิทยุ ปรากฏการณ์ที่ทําให้เกิดการรบกวนต่อผู้อื่นเนื่องจากเครื่องส่งวิทยุ

 วิชาที่ 4 ข้อ 1 - 134

จำนวน 134 ข้อ ใช้เวลาในการฝึกนานไป แบ่งครึ่งให้ฝึก

วิชาที่ 4 ข้อ 1 -60

 

วิชาที่ 4 ข้อ 61 - 134

 

 

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง วิชาที่ 3

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง แยกเป็นรายวิชา จากข้อสอบกลาง ปี 2561

หน้ารวม แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง
 

Download รูปภาพ ประกอบคำถาม

วิชาที่ 3 ทฤษฎีต่าง ๆ สําหรับนัก วิทยุสมัครเล่น

จำนวน 146 ข้อ

# ทฤษฏีไฟฟ้า 

# ส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 

# หลักการทํางานของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ

# สายอากาศและสายนําสัญญาณ

# การแพร่กระจายคลื่น

แบบฝึกหัด วิชา 3 ข้อ 1 - 146

จำนวน 146 ข้อ ใช้เวลาในการฝึกนานไป แบ่งสามส่วน ให้ฝึก

แบบฝึกหัด วิชา 3 ข้อ 1 - 50

แบบฝึกหัด วิชา 3 ข้อ 51 - 100

แบบฝึกหัด วิชา 3 ข้อ 101 - 146

 

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง วิชาที่ 2

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง แยกเป็นรายวิชา จากข้อสอบกลาง ปี 2561

หน้ารวม แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง

วิชาที่ 2 การติดต่อสื่อสารของนัก วิทยุสมัครเล่น

จำนวน 110 ข้อ

# วัตถุประสงค์ของประมวลรหัส Q (Q code) และความหมายของรหัสที่ควรรู้เพิ่มขึ้นในขั้นกลาง

# คําย่อและคําเฉพาะที่ควรรู้เพิ่มขึ้นสําหรับขั้นกลาง

# หลักปฏิบัติและมารยาทในการเรียกขานและในการติดต่อสื่อสารในย่าน HF

 
แบบฝึกหัด วิชา 2 ข้อ 1 - 110


จำนวน 110 ข้อ ใช้เวลาในการฝึกนานไป แบ่งครึ่งให้ฝึก

แบบฝึกหัด วิชา 2 ข้อ 1 -50

แบบฝึกหัด วิชา 2 ข้อ 51 - 110

 

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง วิชาที่ 1

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง แยกเป็นรายวิชา จากข้อสอบกลาง ปี 2561

หน้ารวม แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง

วิชาที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ วิทยุสมัครเล่น

จำนวน 62 ข้อ

# สิทธิที่ได้รับอนุญาตของพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางในแง่ความถี่ (Frequency) ย่านความถี่ (Band) ลักษณะหรือประเภทของการส่ง (Class Of Emission) และขนาดกําลังส่ง(Output Power)

# ลักษณะการใช้งานสถานีที่ได้รับอนุญาตและบุคคลที่สามารถใช้สถานีได้รวมทั้งเงื่อนไขและข้อห้ามต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

# ความรู้เกี่ยวกับข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ (Radio Regulations : RR) ส่วนที่เกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่น

# การสื่อสารเพื่อแจ้งข่าวฉุกเฉิน

 

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น วิชาที่ 5

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น  จากข้อสอบกลาง ปี 2565

หน้ารวม แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น

วิชาที่ 5 คุณธรรมและจริยธรรมของพนักงาน วิทยุสมัครเล่น จำนวน 40 ข้อ

# คําและความหมายที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมและจริยธรรม
# คุณสมบัติที่ดีของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
# ข้อพึงปฏิบัติของพนักงานวิทยุสมัครเล่น

 

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น วิชาที่ 4

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น  จากข้อสอบกลาง ปี 2565

หน้ารวม แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น

วิชาที่ 4 หลักปฏิบัติของนัก วิทยุสมัครเล่น จำนวน 80 ข้อ

# ข้อพึงระวังเรื่องความปลอดภัย
# การใช้เครื่องมือวัดและองค์ประกอบต่าง ๆ
# สาเหตุและการลดปัญหาการรบกวน

 Download รูปภาพ ประกอบคำถาม

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น วิชาที่ 3

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น  จากข้อสอบกลาง ปี 2565

หน้ารวม แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น

วิชาที่ 3  ทฤษฎีต่าง ๆ สําหรับนัก วิทยุสมัครเล่น จำนวน 200 ข้อ

 +ทฤษฏีไฟฟ้า
#คํานําหน้าหน่วย
#ไฟฟ้ากระแสตรง และไฟฟ้ากระแสสลับ
#แหล่งกําเนิดพลังงานไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
#คุณสมบัติของแบตเตอรี่แบบต่าง ๆ
#แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ตัวต้านทานกําลังไฟฟ้า และกฎของโอห์ม
#ตัวนําไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า
#การต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมและแบบขนาน
#ตัวเก็บประจุไฟฟ้า ตัวเหนี่ยวนําไฟฟ้า และการต่อแบบอนุกรมและแบบขนาน
#คาปาซิทีฟรีแอกแตนซ์ อินดักทีฟรีแอกแตนซ์ อิมพีแดนซ์ และเรโซแนนซ์
#หม้อแปลงไฟฟ้า
#ลักษณะของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ควรรู้
#เดซิเบล

+ทฤษฏีอิเล็คทรอนิกส์
#หน้าที่โดยสังเขปและสัญลักษณ์ของอุปกรณ์บางอย่าง ได้แก่ ทรานซิสเตอร์ ผลึกแร่
#ไมโครโฟน ลําโพง หลอดวิทยุ และไอซี

+หลักการทํางานของเครื่องรับ/ส่งวิทยุ
#หน้าที่ของภาคต่าง ๆ ในเครื่องรับ-ส่งวิทยุแบบ TRF และแบบซูเปอร์เฮเทอโรดายน์
#คุณสมบัติของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ AM และ FM
#ซิมเพล็กซ์ ดูเพล็กซ์ และเซมิดูเพล็กซ์

+สายอากาศและสายนําสัญญาณ
#คุณสมบัติของคลื่นวิทยุ และความยาวคลื่น
#โพลาไรเซชั่น
#คุณสมบัติของสายอากาศ และสายอากาศพื้นฐานที่ควรรู้
#สายนําสัญญาณแบบต่าง ๆ และคุณสมบัติที่ควรรู้
#การแมตช์ การบาลานซ์ (Balance) และการวัดกําลังส่งวิทยุสื่อสาร (Standing wave ratio : SWR)
#การแพร่กระจายคลื่น และลักษณะการแพร่กระจายคลื่นของย่านความถี่ต่าง ๆ
#การแบ่งย่านความถี่
#องค์ประกอบที่มีผลต่อระยะการรับ/ส่งในคลื่นความถี่ย่าน VHF

Download รูปภาพ ประกอบคำถาม


แบ่งฝึก ครั้งละ 50 ข้อ

ข้อที่ 1-50




ข้อที่ 51-100




ข้อที่ 101-150




ข้อที่ 151-200






แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น วิชาที่ 2

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น  จากข้อสอบกลาง ปี 2565

หน้ารวม แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น

วิชาที่ 2 การติดต่อสื่อสารของนัก วิทยุสมัครเล่น จำนวน 80 ข้อ

#ประมวลรหัส Q (Q code)
#การรายงานสัญญาณระบบ RST
#การอ่านออกเสียงตัวอักษร (ITU Phonetic Alphabet)
#คําเฉพาะและคําย่อต่าง ๆ ที่ควรรู้
#การรับและแจ้งเหตุฉุกเฉิน
#สมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร (Log book)

 

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น วิชาที่ 1

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น  จากข้อสอบกลาง ปี 2565

หน้ารวม แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น

วิชาที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ วิทยุสมัครเล่น จำนวน 100 ข้อ

#ความรู้เกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่น องค์การระหว่างประเทศและข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
#ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบข้อบังคับ และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
#ความรู้เกี่ยวกับประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและกํากับดูแลกิจการวิทยุสมัครเล่น
#ความรู้เกี่ยวกับการกําหนดสัญญาณเรียกขานสําหรับประเทศไทยและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง


แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น

แบบฝึกหัด สอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น  จากข้อสอบกลาง ปี 2565 แยกรายวิชา จำนวน 5 วิชา

วิชาที่ 5 คุณธรรมและจริยธรรมของพนักงาน วิทยุสมัครเล่น  
วิชาที่ 4 หลักปฏิบัติของนัก วิทยุสมัครเล่น 
วิชาที่ 2 การติดต่อสื่อสารของนัก วิทยุสมัครเล่น  
วิชาที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ วิทยุสมัครเล่น  
วิชาที่ 3 ทฤษฎีต่าง ๆ สําหรับนัก วิทยุสมัครเล่น  ไม่ต้องอ่าน 

Download รูปภาพ ประกอบคำถาม วิชา 3,4

ข้อสอบกลางที่ปรับรูปแบบให้อ่านง่ายๆ แล้ว  รูปแบบdocx  รูปแบบpdf

วิชาที่ต้องสอบมี 5 วิชา  อยู่ในข้อสอบกลาง จำนวน 500 ข้อ สุ่มมาออกข้อสอบ 100 ข้อ

วิชาที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฏ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่น
จำนวน 100 ข้อ  สุ่มออกข้อสอบ 25 ข้อ  คิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ ควรอ่านและจำให้ได้เป็นลำดับที่ 4

วิชาที่ 2 การติดต่อสื่อสารของนักวิทยุสมัครเล่น
จำนวน 80 ข้อ  สุ่มออกข้อสอบ 20 ข้อ  คิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ ควรอ่านและจำให้ได้เป็นลำดับที่ 3

วิชาที่ 3 ทฤษฏีต่างๆ สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น
จำนวน 200 ข้อ  สุ่มออกข้อสอบ 20 ข้อ  คิดเป็น 10 เปอร์เซนต์ ควรอ่านและจำให้ได้เป็นลำดับที่ 5

วิชาที่ 4 หลักปฏิบัติของนักวิทยุสมัครเล่น
จำนวน 80 ข้อ  สุ่มออกข้อสอบ 20 ข้อ  คิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ ควรอ่านและจำให้ได้เป็นลำดับที่ 2

วิชาที่ 5 คุณธรรมและจริยธรรมของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
จำนวน 40 ข้อ  สุ่มออกข้อสอบ 15 ข้อ  คิดเป็น 37 เปอร์เซนต์ ควรอ่านและจำให้ได้เป็นลำดับที่ 1
 

แนะนำให้อ่านวิชาที่ 5 4 2 ถ้าอ่านและจำใด้หมด (200 ข้อ) ท่านจะสอบได้คะแนน 55 คะแนน

จากนั้นค่อยไปอ่าน วิชาที่ 1 ถ้าอ่านและจำใด้หมด (100 ข้อ) รวมวิชาที่ 5 4 2 เป็นทั้งหมด 300 ข้อ ท่านจะสอบได้คะแนน 80 คะแนน

วิชาที่ 3 ทฤษฏีต่างๆ เป็นเนี้อหาทางไฟฟ้า และ โทรคมนาคม ไม่ต้องอ่านก็ได้ แต่ในระหว่างที่เรา ทดลองทำแบบทดสอบ ให้เราจำคำตอบที่ถูกต้อง ของข้อที่เราตอบผิด วิธีนี้ จะช่วยเพิ่มคะแนนให้เราได้

 

หนังสือมีสาระ

 Now are your talking / เมื่อคุณ เริ่มออกอากาศ  เขียนโดย E21IZC ปี 2558

 หนังสือคู่มือวิทยุสมัครเล่น ของต่างประเทศ หลายเล่มมาก ควร download เก็บไว้ ก่อนที่จะ download ไม่ได้

สื่อการเรียนรู้ จากสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เข้าไปแล้วคลิก ที่รูปหนังสือ จะมี link download   :   หนังสือฉลองครบรอบ 25,30,40 ปี    :    จริยธรรม และขั้นตอนในการออกอากาศสำหรับนักวิทยุสมัครเล่น    :    หนังสือคู่มือนักวิทยุสมัครเล่น 

หนังสือ Popular comm ถึงปี 2013 อ่านได้ที่ https://worldradiohistory.com/Popular_Communications.htm

หนังสือ 73 Amateur radio today ถึงปี 2003 อ่านได้ที่ https://www.worldradiohistory.com/Archive-All-Amateur/73_Magazine.htm

หนังสือ ARRL Radio Amateur's Handbook อ่านได้ที่ https://worldradiohistory.com/BOOKSHELF-ARH/Bookshelf_ARRL.htm

หนังสือเรียนมอร์ส ยุค 1941 THE NEW MORSE CODE MANUAL   Arranged BY  A. W. ELEY  download

หนังสือเรียนมอร์ส TM 11-459 Instructions For Learning International Morse June 2 , 1943

หนังสือเรียนมอร์ส TM 11-459 International Morse Code (Instructions) March 6 , 1968

หนังสือเกี่ยวกับ ARRL จาก archive.org

หนังสือ ARRL จาก annas-archive.org

หนังสือ ARRL Basic Antennas  

The ARRL Antenna Book for Radio Communications, 24th Edition

The ARRL Handbook for Radio Communications: 2022  

หนังสือ QST ARRL Digital Edition 

วารสาร วิทยุสมัครเล่น หลายฉบับ 





วิทยุสมัครเล่น ผม เรียนรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง

        หลังจากผ่านการสอบ เพื่อรับใบประกาศนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ผมมั่นใจว่าสอบผ่านแน่นอน เพราะในช่วงทำข้อสอบ(ผมได้ชุดที่ 3) ตอบได้อย่างมั่นใจ ทุกคำถาม คิดว่าทำคะแนนได้เต็มแน่นอน  

หนึ่งวันหลังการสอบ ก็คิดว่าจะไปทางไหนต่อดี ที่แน่ๆ ต้องไปเป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง แน่นอน  ลองฝึกรหัสมอร์ส อยู่ 1 สัปดาห์ ก็พอฝึกได้ แต่ความรู้สึกในใจ บอกว่า มันยากนะ 

อีกหนึ่งเป้าหมายคือ พยายามให้ได้ บัตรพนักงาน วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสูง ในเวลาที่สั้นที่สุด

        เลยเปลี่ยนทิศทาง ไปลองอ่านข้อสอบ เพื่อสอบเป็นนัก วิทยุสมัครเล่น อเมริกา (ถ้าสอบผ่าน สามารถเทียบ ขั้นกลาง ไทยได้) ใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการทำความเข้าใจ Technician Class ก็สามารถทำข้อสอบให้ผ่าน 26 ข้อได้ จากนั้นจึงเริ่มทำความเข้าใจ General Class ต่อเลย ใช้เวลา 2 สัปดาห์เช่นกัน ก็สามารถทำข้อสอบผ่าน 26 ข้อ ถัดจากนั้น ก็เป็นการเรียนรู้ และทำข้อสอบ ซ้ำๆ ประมาณ 1 เดือน ก็สามารถทำข้อสอบ Technician Class General Class ได้คะแนนเต็ม 35 รวมแล้วใช้เวลา 2 เดือน ก็พร้อมสำหรับการสอบ ระหว่างที่ยังไม่มีประกาศเปิดสอบ ก็ซ้อมทำข้อสอบไปเรื่อยๆ กันลืม

        เครื่องวิทยุที่มองๆ และหาข้อมูลไว้ แต่ยังซื้อเวลานี้ ไม่ได้ ต้องเป็น ขั้นกลางให้ได้ก่อน  ICOM  IC-7300 เป็นเครื่องประจำที่ ย่าน HF 100 Watts ออกจำหน่ายตั้งแต่ปี 2015 ราคาในไทย จากร้าน www.gsimon.com  ประมาณ 43,000 บาท ราคา gigaparts.com อเมริกา ประมาณ 1,250 usd เนื่องจากออกจำหน่ายมาหลายปีแล้ว รอดูว่าจะมีรุ่นใหม่มาแทนเมื่อไร

ส่วน YEASU FT-710 เป็นเครื่องประจำที่ ย่าน HF 100 Watts ออกจำหน่ายปี 2022 ราคาไทยร้าน tenmeter 42,000 บาท   ราคา gigaparts.com อเมริกา ประมาณ 1,300 usd

เครื่องประจำที่ Spec ไทย ย่าน VHF  60 Watts  UHF รับได้อย่างเดียว มี Digital Mode D-STAR ด้วย ออกจำหน่ายปี 2019 ICOM IC-9700 ราคาในไทย จากร้าน www.gsimon.com  ประมาณ 53,000 บาท ราคา gigaparts.com อเมริกา ประมาณ 1,750 usd

แบบไม่ประจำที่ พกพาได้ ICOM IC-705 ใช้งานได้ 3 ย่าน HF VHF UHF แบตเตอรี่ในตัว กำลังส่ง 5 Watts ต่อไฟ 13.8 V จากข้างนอก กำลังส่ง 10 Watts ออกจำหน่ายตั้งแต่ปี 2020 ราคาในไทย จากร้าน www.gsimon.com  ประมาณ 42,000 บาท ราคา gigaparts.com อเมริกา ประมาณ 1,350 usd

        อาจจะต้องมีการลงทะเบียนเข้าระบบต่างๆ  เราควรสร้างอีเมล์สำหรับใช้ลงทะเบียน ที่เกี่ยวกับ วิทยุสมัครเล่นเป็นการเฉพาะ อาจจะใช้ Callsign มาใช้ร่วมก็ได้เช่น E26QRV@gmail.com แนะนำให้หาสมุดบันทึกสักเล่ม มาจดข้อมูล ทั้งหลายที่เราได้ลงทะเบียนไว้ ถ้าลืมอะไรบางอย่างจะได้กลับมาดูได้

        โครงการที่อยากจะทำ เพื่อเป็นประโยชน์ในการสอบเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่น ก็คือ แบบฝึกหัดสอบเป็นรายวิชา  

        กสทช ให้ข้อมูล สำหรับเตรียมการสอบ สองอย่างคือ แบบทดสอบกลาง และ แบบฝึกหัดที่เหมือนสอบจริง 100 ข้อ  

        ถ้าอยากจะฝึกเฉพาะวิชาที่ 5 ของขั้นต้น เนื่องจากจำนวนข้อสอบน้อย 40 ข้อ แต่เลือกมาออกข้อสอบ 15 ขัอ หาที่ฝึกเฉพาะวิชาไม่ได้ ผมก็อยากจะทำแบบฝึกเฉพาะวิชาให้ได้ใช้กัน ขั้นกลาง ขั้นสูง ทำเสร็จเมื่อ 1 ธค 2565  ขั้นต้น เสร็จเมื่อ 15 กพ 2566 (ช้าเพราะรอ กสทช ประกาศใช้ข้อสอบชุดใหม่)

        RAST แจ้งกำหนดการสอบ FCC US Exam วันที่ 11 มีนาคม 2566 ที่ หาดจอมพล จ.เพชรบุรี (ประกาศวันที่ 16 มกราคม 2566) เตรียมความพร้อมขั้นสุดท้าย ขอสอบทุก Class ลงทะเบียนเข้าสอบ ไปเมื่อ 1 กพ.2566  พร้อมสอบทุก Class

        ผ่านการสอบไปเป็นที่เรียบร้อย เป้าหมายแรกนั้นตั้งไว้แค่ สอบ Tech และ General ได้ก็พอใจแล้ว ตอนเตรียมสอบ ก็ทำคะแนนได้เต็ม สม่ำเสมอ  ทำให้มันใจว่าสอบได้ General แน่นอน พอมีเวลาเหลืออีก 2 เดือน จึงจะสอบ ก็เลยอ่าน Amateur Extra ต่อ เป็นเป้าหมายที่ สอง ก็ทำได้ตามเป้าที่ตั้งใจไว้

        ก็หวังว่า บทความที่ผมเขียนถึง การเตรียมสอบ การสอบ และขั้นตอนหลังการสอบ โดยละเอียด จะเป็นประโยชน์ กับผู้สนใจจะสอบ US Exam ในเวลาต่อๆ มา

        ได้เทียบใบประกาศเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง ของไทย เมื่อ 27 มีนาคม 2566

        ต่อไปที่อยากจะเรียนรู้คือ ฝึกรหัสมอรส์ หลังจากสอบ  US Exam ก็เริ่มฝึกรหัสมอร์สด้วยตัวเอง ข้อเสียของการฝึกด้วยตัวเอง คือ ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน ทำให้เราเสียเวลาไปพอสมควรกว่าจะเข้าที่ ตอนนี้ เดือน มิ.ย. 67 ฝึกรหัสมอร์สได้ในระดับที่จะเข้าสอบขั้นกลางได้แล้ว แต่การฟังที่เขาติดต่อกันจริงๆ ยังไม่สามารถทำได้

        ฝึกสร้างสายอากาศ HF

        21 มิย. 67 พี่ท่านหนึ่งมาบอกว่า ผมมีสิทธิ์ เข้าสอบขั้นสูงไทย ไม่รอช้า สมัครเลย แล้วก็ฝึกทำข้อสอบ อ่านและท่องจำ ถนัดมาก (ฝึก 2 เดือน ได้ 90 คะแนน) แล้วไปลุ้นรายชื่อ ตอนประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ   22 สิงหาคม 2527 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ  ไม่มีสิทธิสอบครับ  ผมลองให้แล้วนะ  One Day to Extra ไม่ได้สิทธิ์ สอบขั้นสูงไทย ครับ เขาดูแค่ มีใบอนุญาตวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง จะได้มาจากทางไหนก็ได้ จึงจะมีสิทธิ์สอบ ขั้นสูงไทย

        23 สค.67 เตรียมตัวสอบขั้นกลางไทยต่อไป  ถ้าให้สอบวันพรุ่งนี้ ก็พร้อม
        5 ตค.67 สอบรับรหัสมอร์สได้ 50 คะแนน รอ กสทช ประกาศผล

        30 ตค.67 ซื้อเครื่อง IC-7300 ราคาโปร ICOM 60 ปี 39,500 บาท


หน้านี้ยังเขียนไม่จบครับ มีอะไรก็จะมาเขียนเล่าในนี้

 

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ช่วยฝึก รหัสมอร์ส

 โปรแกรมช่วยฝึกมอร์ส มีหลากหลายมาก ตัวที่ผมถูกใจและเลือกมาใช้งานชื่อว่า Just Learn Morse Code http://www.justlearnmorsecode.com ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย ฝึกตามหลัก koch’s method และ Farnsworth  ถึงแม้โปรแกรม จะออกมาตั้งแต่ปี 2006 แต่ก็ยังสามารถติดตั้งใช้งานได้กับ windows 11
 

 
เบื้องต้นปรับโทนเสียงเป็น 750  ปรับ Speed เป็น 7 / 13 จะได้ความเร็ว 13 WPM มี Farnsworth 7  ถ้าต้องการให้แสดงตัวอักษร คลิกที่ปุ่มแว่นตา

 


เราจะปรับแต่งโปรแกรมกันอีกเล็กน้อย ไปที่เมนู Tools/Options Tab General  ปรับความยาวของกลุ่มคำเป็น 5 ให้เหมือนกับการสอบจริง    Duration ระยะเวลาในการส่งมอร์ส เริ่มต้น เป็น 1 นาทีก่อน ถ้าตัวอักษรเพิ่ม ค่อยเพิ่มเวลาตามไป

 


Tab CharecterSet  ตั้งค่าให้มีเฉพาะ ตัวอักษร A-Z และ ตัวเลข 0-9  จากนั้น คลิก OK


 



กดปุ่ม Play จะมีเสียง มอร์ส ออกมา พร้อมกับแสดงเป็นตัวอักษรในช่อง Output (ถ้าไม่ต้องการให้แสดงคลิกปุ่ม แว่นตา) ส่วนช่อง Input ให้พิมพ์ตัวอักษรตามเสียงมอร์สลงไป  คนไหนที่พิมพ์ keyboard แบบสัมผัสได้ จะได้เปรียบ  หรือจะจดตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ลงในกระดาษ แล้วมาเทียบกับช่อง Output ในภายหลังก็ได้
 

 


เมื่อครบเวลา 1 นาที ก็จะมีสรุปผลออกมา
 
 


ถ้ารับรหัสมอร์สแต่ละครั้งได้ 90 เปอร์เซนต์ ให้เพิ่มจำนวนตัวอักษรตัวต่อไป ถ้าชินกับการฟังเสียงมอร์สแล้ว ควรปรับระยะเวลาการฟังเป็นครั้งละ 5 นาที ให้สอดคล้องกับการสอบจริง
 
 


โปรแกรมนี้ เรียงตัวอักษรในการฝึกแบบ koch’s method      KMRSUAPTLOWI.NJEF0Y,VG5/Q9ZH38B?427C1D6X
 

ถ้าอยากจะฝึกโดยใช้การเรียงตัวอักษรตามวิธีของ สมาคม RAST      EISHTMOANRWUDKGZQCYVBXJPLF 0512673489  หรือการเรียงแบบอื่นๆ วิธีการไม่ยาก ไปที่เมนู Source  คลิกเลือก Selected characters

 

ป้อนตัวอักษรที่ต้องการจะฝึกลงไป ทีละตัว
 


 ในท้ายที่สุด การสอบ จะต้องเขียนคำตอบลงใน แบบฟอร์ม อย่าลืมฝึกเขียนตัวพิมพ์ใหญ่ ให้เร็วด้วย


ในการฝึกมอร์ส อาจาร์ยหลายๆท่านแนะนำว่า ไม่ควรหักโหมฝึก ควรฝึกวันละ 2 ครั้งๆ ละ 15 นาที  ที่สำคัญต้องทำให้ได้คือความสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง นี่เป็นเรื่องที่ยากที่สุดของการฝึก

Learning Morse Code By NR1CH

ตัวอย่างเสียงมอร์ส ในการสอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง

ก่อนสอบขั้นกลาง ปี 2565 มีตัวอย่างเสียงมอร์ส มาในกลุ่ม Line RAST News มีตัวอย่างเสียงมาแบบนี้ ก็ดีครับ ผู้ที่ฝึกจะได้มีแนวทาง

Download ตัวอย่างเสียงมอร์ส

ลองนำเสียงไปเข้าโปรแกรมถอดรหัสมอร์ส เพื่อดูค่าความเร็วของ รหัสมอร์ส
https://databorder.com/transfer/morse-sound-receiver/

คลิกที่ Upload เลือกไฟล์เสียง แล้วคลิก Play

ถอดรหัสเสียงมอร์ส ออกมาแล้ว ได้ ความเร็ว 13 WPM แต่คงไม่ใช่ความเร็วปกติของ 13 แต่มีช่องว่างระหว่าง ตัวอักษร มากพอสมควร ทำให้ความเร็วรวม ลดลง แต่ก็เป็นผลดี ทำให้เราเขียนคำตอบได้ทัน

ลองอีกโปรแกรม ก็ได้ผลคล้ายกัน
https://morsecode.world/international/decoder/audio-decoder-adaptive.html

 
ได้ฟังเสียงแล้ว น่าจะเป็นแนวทางในการฝึก รับรหัสมอร์ส ได้เป็นอย่างดี  อาจจะเริ่มฝึกที่ 13 wpm แต่มี Farnsworth ที่ 5 wpm แล้วพัฒนาเป็น 13/8 
ผมได้เข้าสอบขั้นกลาง ปี 2567 พบว่าการฝึก 13/8 ทำให้เราฟังเสียงมอร์ส ในการสอบได้อย่างสบายๆ มีความรู้สึกว่า เสียงสอบ ช้ากว่า มาก  (เสียงมอร์สในการสอบจริง เลื่อนลงไปดู vdo ข้างล่าง)

หลังการสอบ ขั้นกลาง  พ.ค. 2566 ก็มีการ ถามไถ่ กันว่าเตรียมตัวสอบอย่างไร มีคำถามที่น่าสนใจ ในเรื่องความเร็วของเสียง ก็น่าจะเป็นการยืนยัน ในเรื่องความเร็วที่จะฝึกซ้อม


ไฟล์เสียงที่เผยแพร่ของ RAST https://www.rast.or.th/education-and-training/morse จะเป็นความเร็ว 8 คำต่อนาที


แบบทดสอบความพร้อม รับฟังรหัสมอร์ส สอบขั้นกลาง RAST ปี 2022 อันเดียวกับไฟล์เสียงที่ download
 
VVV IQSEH EXTAD BYRQJ ABGQQ DGQPH QSJAB DMDOT GEMHK UXVHS FXPIY IZMVP LFORG IZSOS VIYTZ JZSQG HYALJ AGUHS TSWHI JZIRU CDKHE BPWKE SYVHE BUSZF UICHC YVMYW VXHET JUOOM WVEFD AFUSQ VIPSM NFBRT UXQDT QMSRI UEJYV KYVJN DDNEU QECEZ WLNLQ QLMUX WYGZO ขาด 2 ตัว และ AR

+++++ เสียงจริงในห้องสอบ ต้อง 2 อันข้างล่างนี้ ถ้ารับได้มากกว่า 24 กลุ่ม ผ่านชัวร์ +++++

VDO ที่ถ่ายระหว่างการสอบรับรหัสมอร์ส ขั้นกลาง / VDO อันสอง  ปี 2017 หลังจากดู vdo  และได้ยินเสียงแล้ว ทุกท่านคงได้คำตอบว่าจะฝึกมอร์ส กันแบบใด เฉลยเสียงมอร์ส ใน vdo

VVV VCFEQ UPBUN AQJLI YZHHU XESCK NKSAB YZMLR EKRBL OHXWX CEYUV BSJXR NNFRN DVBBC RCCHN PAVFF RKOZO KRIHY QREJR EUYJZ LVZOY PWUKS MQINU PIZPA SNLTL XOYZF GHCIF IGLDN NWCOM EOPVV NDSDG OGAHL GHGMU RTLUT VJPWW ONQIL YSXXW PRUXQ XMXFA XLUYO KSWYG +

VVV 87447 11936 43489 97074 33757 55726 42065 27134 31347 96163 +

ขั้นตอนการสอบปฏิบัติ รับรหัสมอร์ส ขั้นกลาง


VVV FQUQY NVTNE LPZWE EPCRE SDYWW AUCYT LTRQJ VUXAL MCBBI DNLBX FIUDI HVKBM RTNLO ONMZP LVYUZ EHDBV EOJWG JGJNY UHFYR AWYQE JYAEZ IIDQO NJPBQ UWLPD OAMRN QURVD RZNTI XSHCY PMEXZ EWKLD IOOJL KUTSW PTBXN XOSPI YKKVE JAFAF WJYQE TXEZM OOAFG JRKSO +

VVV 66677 64816 42898 27737 23772 16946 12816 83373 66922 38983 +


วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง การฝึก รหัสมอร์ส หลากหลายวิธี

ฝึก รหัสมอร์ส เพื่อสอบ วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง  มีหลายแนวทางให้เลือกครับ

ทำไมต้องฝึก รหัสมอร์ส ลองฟังพี่สุพจน์ E25JRP อธิบาย https://www.facebook.com/groups/432188557893818/posts/441382690307738/
 

1 แบบคลาสสิค ฝึกมอร์ส ของขั้นกลางรุ่นแรกๆ โดย ร.ท.จำลอง เชื้อไทย ร.น. HS1AAM (SK)
https://www.rast.or.th/education-and-training/morse
https://www.youtube.com/watch?v=P_whizQ1olk
https://www.youtube.com/watch?v=cJ0jNzI7A5w
https://www.youtube.com/watch?v=BFyli-MfBYo
https://www.youtube.com/watch?v=qQOvz-8nWBk

เรียงลำดับอักษรที่ใช้ฝึก
ETA IMN SOS DRC OU KPB GWF QHL ZVXJ  1234567890 /?.,
 

2 แบบของพี่ ชนะ โห้เหรียญ HS2KWO // https://www.facebook.com/groups/TSSBUG/permalink/1151810921499182/  ... เข้าห้องเรียนปี67 เพื่อฝึกมอร์สด้วยตัวเอง ...

เรียงลำดับอักษรที่ใช้ฝึก
EISHTMO AUV NDB WJ CKPG RLQZ FXY 1234567890

3 แบบของสมาคม RAST
https://www.facebook.com/hs0ac/posts/pfbid0JVLQuJhbsWWiLCm3DMp1SCXPRqEEXHQpA17sEweanWhvaRmxHMv96Mi65mkm4Trgl
น่าเสียดายที่ ต้นฉบับ download ไฟล์เสียงไม่ได้แล้ว

มีสำเนาอยู่ที่ https://drive.google.com/file/d/1OvAN2pE8-1uj8a_5cItW-IbcRvVXhgVa/view?usp=sharing

เรียงลำดับอักษรที่ใช้ฝึก
EISH TMO AN RW UDKGZQCYVBXJPLF 0512673489

4 แบบของพี่ Tony E21IZC

https://www.facebook.com/morsetraining/    ย้อนไปดูประมาณปี 2016
https://www.youtube.com/user/e21izc/videos
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1125391124150787&id=1090592557630644

เอกสารฝึกรหัสมอร์ส style tony  ส่วนหนี่งจาก Now are your talking / เมื่อคุณ เริ่มออกอากาศ หน้า 48-50 เขียนโดย E21IZC ปี 2558

เรียงลำดับอักษรที่ใช้ฝึก
EISHTMO AWJUV NDBGRK ZQCY XPFL 1234567890

5 แบบของพี่ สุพจน์ E25JRP  โดยวิธี Koch Method & Farnsworth แบบเดียวกับที่เรียนใน Long Island CW Club

https://www.facebook.com/groups/432188557893818/posts/441382690307738/
https://www.g4fon.net/CW%20Trainer2.php   software ที่ใช้ฝึก

เรียงลำดับอักษรที่ใช้ฝึก
KMRSUAPTLOWI.NJEF0Y,VG5/Q9ZH38B?427C1D6X
 

6 แบบของพี่ HS8JYX โดยวิธี Koch Method

http://hs8jyx.blogspot.com/2011/05/koch-method.html

เรียงลำดับอักษรที่ใช้ฝึก
KMRSUAPTLOWI.NJEF0Y,VG5/Q9ZH38B?427C1D6X

7 เรียนมอร์ส ด้วยตัวเอง หลักสูตร CW Academy Beginner Level

8 เรียนมอร์ส ด้วยตัวเอง หลักสูตร Long Island CW Club BC1 

9 สร้างแบบเรียน มอร์ส ไว้สอนตัวผมเอง

10 รวมๆ เรื่องรหัสมอร์ส


วิทยุสมัครเล่น กับการเลื่อนขั้น

เราเรียนในระดับชั้นใดๆ ก็ตาม ก็ต้องมีการเลื่อนระดับชั้น   การทำงานก็ต้องมีการเลื่อนตำแหน่ง วิทยุสมัครเล่น ในไทย มี 3 ขั้น  ขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสูง  การเลื่อนระดับ นอกจาก สอบรับใบประกาศนียบัตรของไทย แล้ว ก็ยังมี การ สอบ วิทยุสมัครเล่น อเมริกา Technician Class General Class  Amateur Extra Class แล้วมาเทียบ ขั้นกลาง และสูง ของไทย

แนวทางนี้ ท่านจะก้าวหน้าอย่างราบรื่น แนะนำอย่างมาก จุดเริ่มต้น สอบ เป็นพนักงาน วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น ให้ได้ จากนั้นรอ 1 ปี เพื่อเตรียมตัว ฝึกรหัสมอร์ส  สอบ ขั้นกลางไทย 

รอเขาเปิดสอบขั้นกลางไทย อาจจะนาน  หรือ ฝึกรหัสมอร์สไม่ไหว ให้เปลี่ยนแนว ไปเตรียมตัว สอบ วิทยุสมัครเล่น อเมริกา Technician Class และ General Class ให้ได้ในคราวเดียวกัน ถ้ามีการเปิดสอบในไทย เมื่อสอบได้ ก็ขอเทียบ เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง จากนั้นรออย่างน้อย 1 ปี เพื่อเตรียมตัวสอบ ขั้นสูงไทย (ไม่ได้เปิดสอบทุกปี)

ถ้ามีการเปิด สอบ วิทยุสมัครเล่น อเมริกา ในไทยอีก สอบ Amateur Extra Class ให้ผ่าน ก็ขอเทียบ เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง 

เราอาจจะได้เป็น พนักงาน วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น  ขั้นกลาง ขั้นสูง ในเวลาที่สั้นที่สุด อาจจะ 1 ปี หรือมากกว่านั้นเล็กน้อย (ขึ้นอยู่กับ เขาเปิดสอบ วิทยุสมัครเล่น อเมริกา บ่อยแค่ไหน) โดยอาศัยการสอบเทียบ ข้อดีคือไม่ต้องสอบรหัสมอร์ส

วิธีนี้ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเป็น 1 ใน 100  ถ้ามีความสามารถในการสอบ นักวิทยุสมัครเล่นอเมริกา ทั้งสามระดับ ให้ได้ในวันเดียวกัน Technician General Amateur Extra  ซึ่งเรียกว่า One Day to EXTRA  สอบได้ ก็ขอเทียบ เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง ได้เลย   วิธีนี้ เราจะได้ความภูมิใจ ได้เป็นนักวิทยุสมัครเล่นอเมริกา ระดับ Amateur Extra ในการสอบภายในวันเดียว  จากนั้นก็รอเวลา ในการสอบ ขั้นกลาง และ สูง ของไทยตามขั้นตอน  

การได้ Amateur Extra และเทียบเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง ข้อเสีย คือเราไม่ได้ บัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางมาด้วย ทำให้ ไม่ได้สิทธิ์ในการสอบ ขั้นสูงไทย เนื่องจากเขาจะดูจากบัตรขั้นกลางอย่างเดียว ถ้าอยากได้ขั้นสูงไทย ก็ต้อง ฝึกรหัสมอร์ส เพื่อสอบขั้นกลางก่อน แต่เราก็จะได้ความภูมิใจอีกแบบ เราสอบผ่านขั้นกลางไทย ซึ่งหลายคนเลี่ยงที่จะไม่สอบ

เวลาในการเปิดสอบแต่ละครั้ง เป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ (อาจจะต้องรอ มากกว่า 6 เดือน)  ที่เราทำได้คือการเตรียมความพร้อม ให้สามารถสอบผ่าน

ยกตัวอย่าง

E25T...  ถ้าเริ่มต้นด้วยการสอบ เป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ใหม่ ก็จะประมาณ ปลายปี 2565  สอบ US Exam ระดับ General ได้ตั้งแต่ มี.ค.2023 (มี.ค.2566) นั่นคือ พอสอบขั้นต้นได้ ก็สอบ US Exam ตามไปเลย ตอนนี้ เทียบใบอนุญาต เป็น นักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง ไปเรียบร้อย (เม.ย.2566)  สอบ นักวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง ของไทย ผ่าน ( ก.ย. 2567) สอบ Upgrade เป็น Extra Class แต่ยังไม่ได้ 

E25S... เป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ปลายปี 2565  สอบ US Exam รวดเดียว ได้ระดับ Extra ตั้งแต่ มี.ค.2023 (มี.ค.2566) เทียบใบอนุญาต เป็น นักวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง  รอสอบ ขั้นกลางไทย (ต.ค.2567)

เม.ย.2567 หลายท่าน ยังไม่ได้สอบ นักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ยังไม่มี CallSign แต่มาสอบ US Exam ระดับ General ได้ตั้งแต่ พ.ค.2024 (2567) ในปี 2567 มีเปิดสอบขั้นต้นหลายที่ ถ้าไปสอบ และได้ CallSign ไทย ก็จะสามารถ เทียบใบอนุญาต เป็น นักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง ได้เลย ถ้าสอบ Upgrade เป็น Extra Class ได้ พอได้ CallSign ไทย ก็เทียบใบอนุญาต เป็น นักวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง ได้

E25J.. ก่อนหน้านี้ เป็น HS..... กลับมาเล่นอีกครั้ง  สอบ US Exam ระดับ General  เทียบใบอนุญาต เป็น นักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง ท่านพอใจแค่นี้ (เล่นได้ทุกความถี่ ทุกโหมด) ไม่สอบ Extra Class ไม่สอบขั้นกลาง , ขั้นสูงไทย

HS7Z... แน่นอนว่า CallSign นี้ เป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นไม่ต่ำกว่า 20 ปี สอบ US Exam ระดับ Technical ได้ตั้งแต่ปี 2016 พึ่งมาสอบ Upgrade เป็น General ปี 2024 ตอนนี้ เทียบใบอนุญาต เป็น นักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง ไปเรียบร้อย


วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง มีช่องทางอื่นไหมที่จะเป็นได้

กสทช เปิดโอกาสให้มีการเทียบใบประกาศนียบัตรพนักงาน วิทยุสมัครเล่น ของต่างประเทศ ที่มีข้อตกลงกับประเทศไทย 10 ประเทศ มาเทียบเป็น บัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้น กลาง และสูง ของไทย เริ่มตั้งแต่ปี 2557

ประเทศที่มีข้อตกลง กับไทย  สหรัฐอเมริกา สมาพันธรัฐสวิส ราชอาณาจักรสวีเดน สาธารณรัฐออสเตรีย สหราชอาณาจักร สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ราชรัฐลักเซมเบิร์ก ราชอาณาจักรเบลเยียม สาธารณรัฐฝรั่งเศส ราชอาณาจักรเดนมาร์ก

ก็คือ เราต้องไปสอบเพื่อรับใบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น ของต่างประเทศ ให้ได้ขั้นกลาง ของเขาก่อน แล้วค่อยมาทำเรื่องเทียบขั้นกลาง ของไทย  ส่วนใหญ่คงจะส่ายหัว ภาษาเป็นอุปสรรค อีกแล้ว สอบขั้นกลางไทย รหัสมอร์ส ก็เป็นอุปสรรค

นักวิทยุสมัครเล่นไทย ถ้าจะสอบ เพื่อรับประกาศนียบัตรของต่างประเทศ ที่สะดวกสุด ก็จะเป็นประเทศ สหรัฐอเมริกา

"FCC AMATEUR RADIO LICENSE ARRL VEC EXAMINATION  การจัดการสอบในประเทศไทยอยู่ภายใต้การรับรองโดย สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์"

ในประเทศไทย จะมีนักวิทยุสมัครเล่น ที่ไปสอบและได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น General class (ขั้นกลาง)  Amature Extra (ขั้นสูง) ของสหรัฐอเมริกา และไปสอบเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการสอบ Volunteer Examiner (VE) สามารถที่จะเปิดสอบ ให้คนไทย ในประเทศไทย สามารถสอบ เพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น สหรัฐอเมริกา ได้

E25HWI เล่าประสบการณ์ สอบวิทยุสมัครเล่น เบลเยี่ยม 

ที่ผ่านมามีการเปิดสอบแล้วหลายครั้ง  ข้อมูลด้านล่างนี้ เป็นข้อมูลที่ สืบค้นมาจากอินเตอร์เน็ต เท่าที่หาได้

2024      1/2567     27 เมย 67   12.00 น    พระจอมเกล้าลาดกระบัง
2023      1/2566     11 มีค 66    12.30 น    หาดเจ้าสำราญ จ.เพชรบุรี
              2/2566      7 ตค 66     13.00 น    พระจอมเกล้าลาดกระบัง
2022      1/2565      9 กค 65     12.30 น    ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต
2021         2564        ไม่มีข้อมูลการสอบ อาจจะเนื่องมาจาก การระบาดของ โควิด19               
2020      4/2563     19 ธค 63    12.30 น    พระจอมเกล้าลาดกระบัง
              3/2563     3 ตค 63      14.00 น    ระยอง
              2/2563     15 สค 63    13.00 น.   พระจอมเกล้าลาดกระบัง
              1/2563     4 มค 63      11.00 น    เชียงราย             
2019      2/2562     12 ตค 62    13.00 น.   พระจอมเกล้าลาดกระบัง
                              16 มีค 62    13.00 น.   พระจอมเกล้าลาดกระบัง               
2018                      22 กย 61    12.30 น.   พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
                              21 เมย 61                   ระยอง               
2017         2560                       ไม่มีข้อมูลการสอบ               
2016                      8 ตค 59      13.00 น.   ราชภัฏ มหาสารคาม
                              28 สค 59                    ราษฎร์บูรณะ กทม               
2015                      20 ธค 58                     ว.เทคนิคหาดใหญ่                |
2014                      27 กค 57     09.00 น.  ม.มหาสารคาม
2011                      26 มีค 54     13.30 น.  สุราษฏร์ธานี               
2010                      11 ธค 53                     ม.กรุงเทพ

ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับท่านที่สนใจจะเข้าสอบ
1.เป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นของไทย หรือ ยังไม่เป็นก็ได้
2.มีที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา
3.เข้าใจภาษาอังกฤษเบื้องต้น อ่านข้อสอบและตอบคำถามได้
4.กสทช รับเทียบ ขั้นกลาง ขึ้นไป เพราะฉนั้น ท่านต้องสอบ Technician Class และ General Class ให้ผ่าน
5.เตรียมตัวสอบให้พร้อมตลอดเวลา พร้อมที่จะสอบได้ทุกวัน เปิดสอบเมื่อใด จะมีการแจ้งล่วงหน้า 1 เดือน

ติดตามข่าวสารการเปิดสอบได้ที่
http://www.e21eic.net/eic_usexam/usexindex.php


เอกสารผ่านการ สอบ วิทยุสมัครเล่น อเมริกา


ใบประกาศ วิทยุสมัครเล่น อเมริกา

 

เอกสารผ่านการ สอบ วิทยุสมัครเล่น อเมริกา

 

วิทยุสมัครเล่น ไปต่อหรือพอแค่นี้

กสทช กำหนดระดับ พนักงาน วิทยุสมัครเล่น เป็น 3 ระดับ คือ ขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสูง

วิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น ใช้ความถี่ย่าน VHF 144-147 MHz ติดต่อกันได้ใกล้ๆ ภายในจังหวัด ผ่านสถานี repeater ถ้าจะติดต่อไกลกว่านั้น ก็ต้องติดตั้งสายอากาศ ให้สูงเข้าไว้ ก็จะติดต่อวิทยุข้ามจังหวัดได้ แต่ใช้ทุนทรัพย์ มากหน่อย  ถ้าอยากติดต่อต่างประเทศ ทำได้โดยผ่าน ดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น หรือ ติดต่อด้วยวิธีการ EME สะท้อนสัญญาณผ่านดวงจันทร์

วิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง สามารถใช้ความถี่ย่าน HF 3-30 MHz เพิ่มมาจาก VHF ได้ ส่วนใหญ่เป็นการติดต่อกับนักวิทยุสมัครเล่น ต่างประเทศ โดยใช้เสียงพูด หรือ ใช้รหัสมอร์ส ในยุคปัจจุบัน มีระบบ ดิจิตอล FT8 เปิดเครื่องวิทยุ และ โปรแกรมทิ้งไว้ ให้เครื่องคุยกันเองเลย

วิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง ใช้ความถี่ได้เหมือน ขั้นกลาง เมื่อก่อนเขาระบุว่าให้ใช้กำลังส่งได้ถึง 1Kw ในบางความถี่ แต่ในปัจจุบันไม่แน่ใจ ว่ากำหนดกำลังส่งสูงสุดไว้เท่าไร เนื่องจากไม่ได้ระบุไว้ตรงๆ (เมื่อ ต.ค.66 ได้ขอใบอนุญาตตั้งสถานี สำหรับขั้นสูง เจ้าหน้าที่ แจ้งว่าอนุญาตได้ถึง 1kw แต่ผมขอเพียง 500 w)

บางท่านอาจจะตอบว่า พอแล้ว สอบ ก็ยาก สอบผ่านได้เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น ก็พอใจแล้ว จะให้ไปคุยกับต่างประเทศเป็นภาษาอังกฤษ แค่คิดก็หนาวแล้ว

สำหรับท่านที่อยากจะไปต่อ กสทช กำหนดว่า ผู้ที่มีสิทธิ์ สอบเพื่อรับใบประกาศ นักวิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง จะต้องเป็น นักวิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ปี เช่นกัน ผู้ที่มีสิทธิ์ สอบเพื่อรับใบประกาศ นักวิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง จะต้องเป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ปี

การ สอบเป็น นักวิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง ต้องสอบรับ รหัสมอร์ส และ สอบ ข้อเขียน ได้ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน การสอบเป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง สอบข้อเขียน ได้ไม่ต่ำกว่า 75 คะแนน

สถิติพนักงาน วิทยุสมัครเล่น ตามจำนวนบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น เดือน มิถุนายน 2565  ขั้นต้น 64,794  ขั้นกลาง 493  ขั้นสูง 319  จะเห็นว่า ท่านที่สนใจจะสอบเลื่อนขั้นไปเป็น นักวิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง ไม่มากนัก อาจจะเนื่องมาจาก ต้องสอบรับ รหัสมอร์ส ด้วย ซึ่งต้องใช้ความพยายามในการฝีกพอสมควร

ถ้าจะไปต่อ มีทางเลือก 2 ทางครับ

1.สอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง ไทย

2.สอบวิทยุสมัครเล่นอเมริกา แล้วนำใบอนุญาตมาเทียบ ใบอนุญาตไทย


เปิดสอบ ขั้นกลาง ขั้นสูง บ่อยแค่ไหน ผมได้รวบรวมข้อมูลที่พอจะหาได้ในอินเตอร์เน็ต ดังนี้

วันที่สอบ พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง

5 ต.ค. 67     ม.กรุงเทพ
27 พค 66     ม.กรุงเทพ
5 กพ 65       ม.กรุงเทพ
24 สค 62     ม.กรุงเทพ
5 พค 61       ม.กรุงเทพ
21 พค 60    
18 เมย 58        ม.กรุงเทพ
19 พค 55    
25 พย 44        กทม
2543    

วันที่สอบ พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
7 ก.ย.67         ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต
10 ตค 65        ม.ราชพฤกษ์
21 ตค 61        ม.ราชพฤกษ์
18 มิย 59        กสทช

จะเห็นได้ว่า บางปีก็ไม่ได้เปิดสอบ ที่เตรียมพร้อมมาอย่างดี ก็รอต่อไป

ประกาศนียบัตร พนักงานวิทยุสมัครเล่น