สมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร LogBook

นักวิทยุสมัครเล่นไทย  จะต้องบันทึกข้อมูลการติดต่อสื่อสาร ลงใน สมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร (log book) โดยเป็นข้อกำหนดหนึ่ง ตาม ประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและกํากับดูแลกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ.2557 หมวด 7 การบันทึกข้อความการติดต่อสื่อสาร 

ข้อ ๓๐ สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย สถานีวิทยุสมัครเล่นขององค์กรวิทยุสมัครเล่น(Club station) สถานีวิทยุสมัครเล่นสําหรับกิจกรรมพิเศษ (Special event stations) และสถานีวิทยุสมัครเล่น ชนิดประจําที่ ต้องมีสมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร (Log book) ไว้ประจําสถานีวิทยุสมัครเล่น และจะต้องบันทึกรายละเอียดการติดต่อสื่อสาร เพื่อให้คณะกรรมการหรือผู้ได้รับมอบหมาย ตรวจสอบหรือเพื่อประโยชน์อื่น ๆ โดยต้องดําเนินการ ดังนี้
(๑) รายละเอียดการติดต่อสื่อสารที่จะต้องบันทึก
(ก) วัน เดือน ปี และเวลา ตั้งแต่เริ่มและสิ้นสุดการติดต่อแต่ละครั้ง
(ข) สัญญาณเรียกขานของคู่สถานีที่ติดต่อด้วย
(ค) สรุปข้อความที่ติดต่อแต่ละครั้ง
(ง) คลื่นความถี่ และกําลังส่งของเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้งานของผู้รับและผู้ส่ง
(จ) ประเภทของการแพร่กระจายคลื่น
(ฉ) ชื่อ-สกุลของพนักงานวิทยุสมัครเล่นที่ปฏิบัติหน้าที่ในขณะนั้น
(๒) สมุดบันทึกการติดต่อสื่อสารต้องเก็บไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี นับจากวันที่ได้บันทึก การติดต่อไว้

สรุปได้ว่า สถานีประจำที่ ของนักวิทยุสมัครเล่นทั่วไป , สถานีควบคุมข่าย , สถานี Club Station , สถานีกิจกรรมพิเศษ จะต้องบันทึกข้อมูลการติดต่อสื่อสาร ลงใน สมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร (log book) และเก็บไว้เป็นเวลา 5 ปี  ส่วนสถานีรถยนต์ และ Handheld ไม่ต้องมี log


ตัวอย่าง logbook จากเว็บ HS3LZX 


ตัวอย่าง logbook อีกอัน จากเว็บ hamsiam.com  หรือจะไปดูในหนังสือ คู่มืออบรมและสอบเพื่อรับประกาศณียบัตร พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น กล่าวถึงเรื่อง สมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร (log book) อยู่หน้า 142

ตัวอย่างของต่างประเทศ 




ปัญหาที่เราต้องพบเจอคือ ตอนบันทึก ก็รีบจดบันทึก ลายมือคงหาความสวยงามไม่ได้ เวลาผ่านไป เราอาจจะอ่านไม่ออก ก็เป็นได้ แต่ในยุคที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ ก็จำเป็นต้องบันทึกลงในสมุด log book

การแข่งขัน Thailand Field Day Contest เป็นการแข่งขันย่าน VHF 2m มีวิธีการลง logbook บน excel 

ในยุค 1990-2000 คอมพิวเตอร์ ราคาจับต้องได้ จึงมีการนำมาใช้งานใน สถานีวิทยุสมัครเล่น หน้าที่หนึ่งในนั้น คงเป็นการลง log book  มีผู้พัฒนาโปรแกรม log book หลากหลาย ปัญหาที่ตามมาคือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ยังไม่มีมาตรฐาน จึงมีการกำหนดมาตรฐาน  Amateur Data Interchange Format (ADIF) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และ Cabrillo  เป็นรูปแบบในการส่ง log ในการแข่งขัน (contest logs )


ผมลองจินตนาการ ระบบ LogBook ที่ต้องการในสถานีของผม  Master logbook อยู่ในคอมพิวเตอร์หลักประจำสถานี ใช้โปรแกรม logbook ที่ใช้ได้ทั้ง log ทั่วไป และ contest log  กรณีใช้งานวิทยุนอกสถานี เช่นไป POTA  จะมี Slave logbook อยู่ใน Notebook computer หรือ tablet  สามารถถ่ายโอนข้อมูลไปเก็บใน Master logbook ได้  ถ้ารีบด่วน ต้องออกนอกสถานี วิทยุเครื่องเดียว กับโทรศัพท์มือถือ ลง log ผ่านเว็บไซด์ แล้วนำข้อมูลออก มาเข้า Master logbook ทำได้หรือเปล่า

กรณีที่ต้องการล่ารางวัล หรือยืนยันการติดต่อ กับนักวิทยุสมัครเล่นท่านอื่นๆ จะต้องทำอย่างไร ส่ง log ไปที่ไหน

คิดต่อไปถึง การbackup ข้อมูล ต้องทำอย่างไร


ค้นหาข้อมูล บทความที่เกี่ยวกับ logbook

for general logging  Log4OM , DXLab DXKeeper

I use LOG4OM2 for "regular" purposes and N1MM for contests.
I import my N1MM contest adif into LOG4OM, so I do merge my contest log into my "official" log.
Both are pretty easy to use. I have LOG4OM2 uploading my contacts to LOTW, eqsl, QRZ, Clublog, and HRDLog automatically.

I mainly use Log4OM these days, because it does a great job of automatically collecting the ADIF files from the other programs that I use -- fldigi, js8call, jtdx, mmsstv, etc. -- without having to leave Log4OM running all of the time.
N1MM+ is great for contests, because it's data entry is fast.

Log4OM2 for day to day logging, N1MM for contests, HAMRS for POTA.

Log4OM2 interfaces nicely with every online service I use, has an internal DX cluster that other software can connect to (FRStack in my case), has fields and lookup for awards programs (POTA, SOTA, etc), and it's fast. I used to love FRLogger to use with my Flex, but the database was just slow and would bog down my PC over time.

For contests I like N1MM because it's simple, the macros are easy to set up, there are setup files for every contest and call lookup files to simplify logging.

HAMRS for POTA because it's pretty much built for it, has the spots page built in, has a map feature, does live lookups as you enter a call, and runs very well on the Evolve Maestro laptop I use when portable.



คุณสมบัติ ของ Logbook Software
ต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มบ้าง
WSJT-x  , JTDX  , JTAlert  pdf  , FLDigiMMTTY , MMVARI , FT8Superfox

N1MM




DXLab DXKeeper
Getting Started with DXLab  









คอมพิวเตอร์ LENOVO ThinkStation

หาคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก แต่ประสิทธิภาพสูง ไว้ประจำสถานี สำหรับเก็บ LOG และ Software ที่เกี่ยวข้อง ได้เป็นคอมพิวเตอร์มือสอง ยี่ห้อ LENOVO รุ่น ThinkStation P330  CPU Xeon E-2234 Ram 16G SSD M.2 256G HDD 1TB ต่อจอภาพได้ 3 จอ

ได้มาพร้อม Windows 10 Pro OEM และ Software ที่ผู้ขายติดมาให้ คิดว่าจะ Reinstall Windows ใหม่ และจะลอง UP เป็น Windows 11

เคยใช้ คอมพิวเตอร์ ประเภท WorkStation ยี่ห้อ HP หรือ DELL จะสามารถสร้าง Recovery USB ได้โดยใส่ S/N ของคอมพิวเตอร์เข้าไป ก็จะสามารถสร้างได้เลย แต่ LENOVO เครื่องนี้ มีขั้นตอนให้ทำ แต่ทำได้ไม่ครบขั้นตอน ไม่สามารถสร้างได้  ก็ต้องไปสร้าง Recovery USB ผ่านWindows แทน 

อีกเรื่องที่อยากรู้ Product KEY OEM Windows 10 Pro

To find the product key using the command prompt:

1.Open Command Prompt as administrator: Right-click the Start button and select "Command Prompt (Admin)" or "Windows PowerShell (Admin)". 

2.Enter the command: Type or paste wmic path softwarelicensingservice get OA3xOriginalProductKey and press Enter. 

3.The product key will be displayed

อีกวิธีใช้ โปรแกรม ShowKeyPlus ค้นหา


ถอดสาย LAN ออก เสียบ Recovery USB แล้วกดเปิดเครื่อง ระหว่างนั้นกดปุ่ม F12 รัวๆ เพื่อเลือก Boot จาก USB

เลือก Boot จาก USB

เลือก keyboard US

เลือก Recovery from a drive

เลือก Full clean the drive   (Drive ที่ติดตั้ง Windows แยกต่างหาก ก็เลยเลือกตัวเลือกนี้)

อ่านคำเตือน ถ้าพร้อมแล้ว ก็คลิก Recover

รอWindows ล้างข้อมูล ขั้นตอนนี้ นานพอสมควร


ล้างเครื่องเสร็จ คอมพิวเตอร์จะ reboot และมีคำถามว่าจะล้างข้อมูล ใน TPM หรือไม่ ถ้าล้าง กดปุ่ม F12


เริ่มติดตั้ง Windows


เลือก Region เป็น thailand


Keyboard Layout เป็น US


ติดตั้ง keyboard เพิ่ม คลิก Add layout


เลือก thai


เลือก thai kedmanee แล้วคลิก Add layout


เราไม่ต้องการต่อ internet ระหว่างการติดตั้ง windows มิฉนั้นจะเรื่องยาว  คลิก Skip for now


คลิก No


คลิก Accept


ป้อน Username คลิก Next


ถ้าไม่ต้องการใส่ Password ให้เว้นไว้แล้ว คลิก Next


คลิก No


คลิก Accept

Windows10Pro ก็จะติดตั้งไปจนเรียบร้อย ได้เป็น version 1809 จากนั้น ทำการ update เป็น 1903
จากนั้น ตั้งเวลา , Region , เปลี่ยนปุ่มกดเปลี่ยนภาษา

การ update ไปต่อไม่ได้ มีข้อความ "Your device is missing important security and quality fixes." มีวิธีแก้หลายแบบ ดูใน youtube ได้ แต่กรณีนี้ ต้องการ update เป็น version 22H2 download software แล้วดำเนินการ update ได้เลย up จนสุดแล้ว ทำไม windows11 ไม่ขึ้นมาสักที ปิดเครื่องไป นอน ตอนเช้า up เป็น windows 11 ได้แล้ว

backup SSD ไว้ โดยโปรแกรม Symantec Broadcom Ghost (Norton Ghost) ทำเป็นไฟล์ image ไว้ แบบ ทั้ง SSD และเฉพาะ partition drive C:  3 ขั้น ตอนที่ได้เครื่องมา  ตอนเป็น windows10 V.22H2  ตอนเป็น windows11 V.24H2 






จำนวนนักวิทยุสมัครเล่นไทย

ข้อมูลจาก เพจ Suphon Thanathiwat ซึ่งได้สอบถาม ไปยัง กสทช. เกี่ยวกับจำนวนนักวิทยุสมัครเล่น ในประเทศไทย  กสทช ให้ข้อมูลมา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2568 ดังนี้

จำนวนใบประกาศฯ และใบอนุญาตฯ "ที่ยังไม่ขาดอายุ" ในแต่ละขั้น มีดังนี้
ขั้นต้น: ใบประกาศฯ 471,008 ฉบับ <=> ผู้ได้รับใบอนุญาต 52,925 ราย
ชั้นกลาง: ใบประกาศฯ 1315 ฉบับ <=> ผู้ได้รับใบอนุญาต 453 ราย
ขั้นสูง: ใบประกาศฯ 684 ฉบับ <=> ผู้ได้รับใบอนุญาต 529 ราย

ข้อมูลดังกล่าว อาจจะเป็นข้อมูลดิบ ที่ยังไม่ได้กรอง เช่น นักวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง อาจจะยังมีใบอนุญาต ขั้นกลาง ที่ยังไม่หมดอายุ  



ข้อมูลจาก กสทช. สถิติผู้ได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น (เริ่มต้น พ.ศ. 2531 จนถึง 5 เม.ย.2562)

สถิติผู้ได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
เริ่มต้น (พ.ศ.2531) ถึง พ.ศ.2557 จำนวน 454,024 ใบ 
พ.ศ.2558 จำนวน 457,007 ใบ
พ.ศ.2559 จำนวน 459,889 ใบ
พ.ศ.2560 จำนวน 462,613 ใบ
พ.ศ.2561 จำนวน 464,750 ใบ

สถิติผู้ได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง
เริ่มต้น (พ.ศ.2531) ถึง พ.ศ.2557 จำนวน 851 ใบ 
พ.ศ.2558 จำนวน 938 ใบ
พ.ศ.2559 จำนวน 971 ใบ
พ.ศ.2560 จำนวน 1,048 ใบ
พ.ศ.2561 จำนวน 1,083 ใบ


สถิติผู้ได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
เริ่มต้น (พ.ศ.2531) ถึง พ.ศ.2557 จำนวน 9 ใบ 
พ.ศ.2558 จำนวน 10 ใบ
พ.ศ.2559 จำนวน 170 ใบ
พ.ศ.2560 จำนวน 272 ใบ
พ.ศ.2561 จำนวน 416 ใบ

จากข้อมูลในนิตยสาร 100 วัตต์ ระบุว่า สอบขั้นสูงครั้งแรก 19 มิ.ย.2559 สอบผ่าน 155 คน  และดูข้อมูลจาก  ผลการสอบขั้นสูง  ปี 2560 ไม่มีผลสอบขั้นสูง

ข้อมูลสถิติ จำนวนพนักงานวิทยุสมัครเล่น ประเทศไทย เดือน มิถุนายน 2565  ข้อมูลจาก สมาคมนักวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (RAST)  

ขั้นต้น: ใบประกาศฯ 467,278 ฉบับ <=> ผู้ได้รับใบอนุญาต 64,794 ราย
ชั้นกลาง: ใบประกาศฯ 1,460 ฉบับ <=> ผู้ได้รับใบอนุญาต 493 ราย
ขั้นสูง: ใบประกาศฯ 472 ฉบับ <=> ผู้ได้รับใบอนุญาต 319 ราย





เทียบกันชัดๆ

มิถุนายน 2565

ขั้นต้น: ใบประกาศฯ 467,278 ฉบับ <=> ผู้ได้รับใบอนุญาต 64,794 ราย
ชั้นกลาง: ใบประกาศฯ 1,460 ฉบับ <=> ผู้ได้รับใบอนุญาต 493 ราย
ขั้นสูง: ใบประกาศฯ 472 ฉบับ <=> ผู้ได้รับใบอนุญาต 319 ราย

มิถุนายน 2568

ขั้นต้น: ใบประกาศฯ 471,008 ฉบับ <=> ผู้ได้รับใบอนุญาต 52,925 ราย
ชั้นกลาง: ใบประกาศฯ 1315 ฉบับ <=> ผู้ได้รับใบอนุญาต 453 ราย
ขั้นสูง: ใบประกาศฯ 684 ฉบับ <=> ผู้ได้รับใบอนุญาต 529 ราย

ผลต่าง ของปี 2565 - 2568

ขั้นต้น: ใบประกาศฯ +3,730 ฉบับ <=> ผู้ได้รับใบอนุญาต -11,869 ราย
ชั้นกลาง: ใบประกาศฯ -145 ฉบับ <=> ผู้ได้รับใบอนุญาต -40 ราย
ขั้นสูง: ใบประกาศฯ +212 ฉบับ <=> ผู้ได้รับใบอนุญาต +210 ราย


16 มิถุนายน 2568 มีรายงานว่า CallSign  E25  ได้หมดลงแล้ว และเริ่มต้น E26


เรียงลำดับ CallSign ตั้งแต่ปี 2555 ข้อมูลจากเว็บ www.kaentong.com   มีข้อมูลย้อนกลับไปถึง วันที่ 23 มีนาคม 2555  ยังคงมีการแยก CallSign แยกเป็นเขตๆ แต่เลข เริ่มไม่ตรงเขตแล้ว

ประมาณ พ.ศ.2555 มีการแบ่งเขตสัญญาณเรียกขานใหม่  อ้างอิง www.kaentong.com
เขต 1  HS0, HS1 ใช้สัญญาณเรียกขาน E20 E21 E22 E23 E24 E25 E26
เขต 2  HS2 ใช้สัญญาณเรียกขาน E27
เขต 3  HS3 ใช้สัญญาณเรียกขาน E27
เขต 4  HS4 ใช้สัญญาณเรียกขาน E27
เขต 5  HS5 ใช้สัญญาณเรียกขาน E28 E22
เขต 6  HS6 ใช้สัญญาณเรียกขาน E28
เขต 7  HS7 ใช้สัญญาณเรียกขาน E29
เขต 8  HS8 ใช้สัญญาณเรียกขาน E29
เขต 9  HS9 ใช้สัญญาณเรียกขาน E29 E23



วันที่ 1 พฤษภาคม 2556 ข้อมูลสุดท้าย ที่ยังมีการแยก CallSign ตามเขต


หลังจากนั้น ไม่มีการแยกตามเขตแล้ว ใช้ CallSign  ร่วมกันเป็น E23






วันที่ 22 กรกฏาคม 2557 CallSign E23  หมด


วันที่ 23 กรกฏาคม 2557 เริ่มใช้ CallSign E24


วันที่ 19 กันยายน 2560 CallSign E24  หมด


วันที่ 20 กันยายน 2560 เริ่มใช้ CallSign E25


วันที่ 13 มิถุนายน 2568 CallSign E25  หมด



วันที่ 20 มิถุนายน 2568  CallSign E26 มีให้เห็นแล้ว



กสทช นำระบบค้นหาข้อมูลใบอนุญาต กลับมาใช้อีกครั้ง  https://mocheck.nbtc.go.th/ ค้นหาได้หลากหลาย 

เบื้องต้น หากต้องการ ดูว่า CallSign นั้นยังต่อใบอนุญาตอยู่หรือไม่  เลือกตามขั้นใบอนุญาต


ใช้ดูข้อมูลย้อนหลัง  1-2 ปี พอได้  เพราะเขาไม่ update ให้เป็นปัจจุบัน
ใบอนุญาตฉบับหนึ่ง ขอเมื่อ พ.ย.2567  ปัจจุบัน มิ.ย.2568 ยังไม่มีข้อมูล














ติดตาม Bangkok FCC US exam 2568-2

2 พฤษภาคม 2568 มีข่าวแจ้งใน HS0AC’s RAST Club Station ว่าจะมีการสอบ FCC US exam ที่กรุงเทพ สอบวันที่ 28 มิถุนายน 2568  ล่าสุด 24 พฤษภาคม 2568 ข่าวใน Line บอกว่า ร่วมกับสมาคมวิทยุสมัครเล่นแสงเทียน สมุทรสาคร มีการสอบที่ เทศบาลเมืองพันท้ายนรสิงห์ จ.สมุทรสาคร  

เมื่อ 28 พฤษภาคม 2568 เข้าไปดูใน ARRL มีกำหนดการสอบ และ สถานที่สอบ ออกมาแล้ว 


ในเว็บ ลงทะเบียนเข้าสอบ https://www.e21eic.net/eic_usexam/usexindex.php คงจะมีรายละเอียดตามมา

HS0AC’s RAST Club Station แจ้งข้อมูลการสอบ และสถานที่สอบ สำนักงานเทศบาลเมืองพันท้ายนรสิงห์ ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร  และมี เอกสารสำหรับประเมิน สำหรับผู้มีความประสงค์จะเทียบใบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น

HS0AC’s RAST Club Station แจ้งข้อมูล เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.2568 ว่า การจัดสอบ US Exam ในพื้นที่ กทม และภาคกลาง ในครั้งต่อไป อาจจะต้องรออีก 2 ปี  ในระหว่าง 2 ปีนี้ จะวนไปจัดสอบ ในภาคอื่นๆ และแนวทาง การจัดเปิดสอบ ของ RASTในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น US Exam (หรือ สอบขั้นกลางไทย) คนที่ต้องการสอบจริงๆ จะต้องรวบรวมรายชื่อ 20-30 คน และสถานที่ ให้พิจารณาก่อน  อาจจะมีเหตุมาจาก ก่อนหน้านี้ มีการลงชื่อคนสนใจเข้าสอบ US exam กัน 20 กว่าคน พอเป็นให้ลงทะเบียนสอบจริง ผ่านมา 10 วัน คนลงทะเบียนไม่เป็นไปตามเป้า 

28 พ.ค.2568    เวลา 12.00 น. เปิดลงทะเบียน  
29 พ.ค.2568    เวลา 12.00 น. มีประกาศชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ 5 คน
31 พ.ค.2568    เวลา 06.00 น. มีประกาศชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ 6 คน
2 มิ.ย.2568      เวลา 12.00 น. มีประกาศชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ 7 คน
6 มิ.ย.2568      เวลา 12.00 น. มีประกาศชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ 8 คน
8 มิ.ย.2568      เวลา 06.00 น. มีประกาศชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ 9 คน
18 มิ.ย.2568    เวลา 17.00 น. มีประกาศชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ 10 คน
20 มิ.ย.2568    เวลา 06.00 น. มีประกาศชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ 12 คน
23 มิ.ย.2568    เวลา 12.00 น. มีประกาศชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ 13 คน
25 มิ.ย.2568    เวลา 12.00 น. มีประกาศชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ 13 คน

แปลกใจที่รอบนี้ ผู้สมัครค่อนข้างน้อย  ลองเข้าไปดู เงื่อนไขการสมัคร ก็เหมือนๆ เดิม





เพจ HS0AC’s RAST Club Station  นำบรรยากาศ และผลการสอบบางส่วน มานำเสนอ มีผู้สอบได้ One Day Extra 2 ท่าน และแจ้งว่า อีก 2 ปีข้างหน้า จึงจะกลับมาจัดสอบในภาคกลางอีกครั้ง